หน้าแรก | เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก | ติดต่อโฆษณา | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา

ประกาศกทม.39 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการก่อสร้างอาคาร

รวมกฎหมายการออกแบบ-ก่อสร้าง ขออนุญาต ว่าจ้างผู้รับเหมา ควบคุมงานและตรวจรับงานก่อสร้างแบบครบวงจรจนอาคารพร้อมเปิดใช้งานได้

ประกาศกทม.39 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการก่อสร้างอาคาร

โพสต์โดย bigkid เมื่อ อังคาร 06 ต.ค. 2009 11:43 am

ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภค

----------------------
ด้วยปัจจุบันปรากฏว่าได้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
และโครงการก่อสร้างปรับปรุงสาธารณูปโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ที่อาจเป็นภยันตรายต่อ
สุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ก่อให้เกิดมลภาวะ เหตุเดือดร้อน รำคาญ มีผลกระทบต่อ
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การจราจร หรือทำให้สิ่งสาธารณประโยชน์ชำรุดเสียหายก่อนถึงเวลาอัน
ควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๔ แห่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติรักษาความ
สะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามมาตรา ๔ แห่งพระราช
บัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๑๔ ทวิ แห่งพระราช
บัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๒๐ และตามมาตรา ๑๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงกำหนด
วิธี
ปฏิบัติในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร และการก่อสร้างปรับปรุง
สาธารณูปโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้
๑. ให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและ
เงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร เพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิด
แก่สุขภาพ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๓๔
๒. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
หมวด ๑
อาคาร
การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้าย
-----------
๓. ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
๓.๑ ต้องสำรวจและจัดส่งแบบแผนผังแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของตำแหน่ง
ความลึกและขนาดของโครงสร้างใต้ดิน ฐานรากอาคารข้างเคียง และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ให้กับ
กรุงเทพมหานคร
๓.๒ จัดทำมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เกิดภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย
- ๒ - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

๔.๒.๓ การกองวัสดุที่มีฝุ่น ต้องปิดหรือปกคลุม หรือเก็บในที่ที่ปิดล้อม
ทั้งด้านบน และด้านข้างอีก ๓ ด้าน หรือฉีด พรม ด้วยน้ำเพื่อที่จะให้ผิวเปียกอยู่เสมอ หรือวิธีการ
อื่น
ที่เหมาะสม
๔.๒.๔ การขนย้าย วัสดุที่มีฝุ่น ต้องฉีดพรม ด้วยน้ำทันทีก่อนการขนย้าย
๔.๒.๕ ห้ามดำเนินการ ติดตั้ง กอง หรือเก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ
ก่อสร้าง หรือชิ้นส่วนโครงสร้างในที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบจากผู้
ว่า
ราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีการป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดต่อสุขภาพ
ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน และติดตั้งไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ ในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระ
อาทิตย์ขึ้นด้วย
๔.๓ การเคลื่อนย้ายวัสดุที่ทำให้เกิดฝุ่นด้วยสายพาน
๔.๓.๑ ระบบขนส่งแบบสายพานที่ขนวัสดุต้องปิดด้านบนและด้าน
ข้างทั้ง ๒ ด้าน
๔.๓.๒ จุดเชื่อมระหว่าง ๒ สายพาน ต้องจัดทำหลังคาปิดให้มิดชิด
๔.๓.๓ บริเวณปลายสายพานต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกำจัด
เศษวัสดุ ที่ตกค้างอยู่บนสายพาน และจัดเก็บให้เรียบร้อยก่อนที่วัสดุจะตกลงสู่พื้น
๔.๔ การเจาะ การตัด การขัดผิววัสดุที่มีฝุ่น โดยใช้เครื่องจักร หรือเครื่องยนต์
ต้องฉีดน้ำหรือสารเคมีบนผิวอย่างต่อเนื่อง เว้นแต่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ที่แยกฝุ่นหรือกรองฝุ่น
ไว้แล้ว
๔.๕ การผสมคอนกรีต การไสไม้ การกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต้องจัด
ทำในพื้นที่ที่ได้คลุมด้วยผ้าคลุม หรือในห้องที่มีหลังคา และผนังปิดด้านข้างอีก ๓ ด้าน หรือวิธี
การ
อื่นที่เหมาะสม
๔.๖ การดำเนินการกับเศษวัสดุที่เหลือใช้
๔.๖.๑ เศษวัสดุจะต้องปกคลุมด้วยผ้าคลุมหรือปิดมิดชิดทั้งด้านบนและ
ด้านข้างทั้ง ๓ ด้าน
๔.๖.๒ ต้องจัดให้มีปล่องชั่วคราว หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมที่ปิดมิดชิด
สำหรับทิ้ง หรือลำเลียงเศษวัสดุ
๔.๖.๓ ต้องขนย้ายเศษวัสดุ ขยะ และสิ่งปฏิกูล ออกจากสถานที่ก่อสร้าง
อย่างน้อยทุก ๆ ๒ วัน หากยังไม่พร้อมที่จะขนย้ายต้องจัดให้มีที่พักรวมที่มีขนาดเพียงพออยู่ใน
ตำแหน่งที่สะดวกต่อการจัดเก็บ และต้องมีมาตรการทำความสะอาดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ป้องกันไม่ให้เกิดฝุ่นละออง หรือสิ่งสกปรกเปรอะเปื้อน
๔.๖.๔ ปลายปล่องที่ใช้ทิ้งเศษวัสดุ ต้องสูงจากระดับพื้น หรือภาชนะ
รองรับไม่เกิน ๑ เมตร

๔.๗ การควบคุมด้านฝุ่นละอองและเศษวัสดุร่วงหล่น
การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารในส่วนที่อยู่เหนือ
ระดับดินเกิน ๑๐ เมตร ต้องใช้ผ้าใบทึบ หรือผ้าใบโปร่งแสง หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมปิดกั้นตัว
อาคาร เพื่อป้องกันเศษวัสดุก่อสร้างร่วงหล่น และฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย
๔.๘ การทำฐานรากอาคาร
๔.๘.๑ การทำฐานรากอาคารโดยใช้เสาเข็มด้วยการเจาะ กดหรือตอก
และการขุดดิน ผู้ดำเนินการจะกระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ถ้า
จะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก
นายช่าง และได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก่อน
๔.๘.๒ ปั้นจั่น เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้สำหรับตอกเสาเข็ม หรือเจาะดิน
เพื่อทำเสาเข็ม ต้องจัดให้มีการป้องกัน เสียง ควัน และการฟุ้งกระจายของเศษดินขณะดำเนินการ
โดยใช้ผ้าใบทึบหรือวัสดุอย่างอื่นหรือเทียบเท่า ขึงรอบบริเวณมีความสูงอย่างน้อย ๒ ใน ๓ ของ
ความสูงของปั้นจั่นที่ใช้ตอกเสาเข็ม หรือเจาะดิน
๔.๘.๓ ถ้าตำแหน่งของเสาเข็มอยู่ห่างจากอาคารต่างเจ้าของหรือต่าง
ผู้ครอบครองน้อยกว่า ๓๐ เมตร ให้ใช้ระบบเสาเข็มที่มีการเจาะดินออกบ้างหรือทั้งหมด
๔.๘.๔ การทำเข็มพืด การทำเสาเข็ม และการขุดคู จะต้องกระทำห่างจาก
เขตที่ดินข้างเคียงหรือต่างเจ้าของ ไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร หรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้
เว้น
แต่จะได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือต่างเจ้าของเป็นหนังสือ
๔.๘.๕ ดินที่ขุดออกจากการก่อสร้างฐานราก ต้องจัดให้มีที่กองโดยเฉพาะ
และต้องปิดหรือปกคลุมหรือเก็บในพื้นที่ที่ปิดล้อม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อเจ้า
ของ
ที่ดินข้างเคียงหรือประชาชนที่ใช้ที่สาธารณะ
๔.๙ นั่งร้าน
๔.๙.๑ นั่งร้านที่ใช้ในการก่อสร้างที่สูงเกิน ๕ ชั้น หรือ ๒๑ เมตร ผู้ดำเนิน
การต้องยื่นแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนของนั่งร้าน ซึ่งออกแบบ
และ
คำนวณโดยผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕
ต่อกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นหลักฐานก่อนจะสร้างนั่งร้านดังกล่าวได้
๔.๙.๒ นั่งร้านที่ทำด้วยโลหะ ต้องรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำ
หนักบรรทุกสูงสุดบนนั่งร้านนั้น ๆ และไม่น้อยกว่าสี่เท่าในกรณีที่นั่งร้านทำด้วยไม้
๔.๙.๓ อาคารสูงตั้งแต่ ๑๐ เมตร ขึ้นไปจะต้องมีที่ว่าง เพื่อติดตั้งนั่งร้าน
ไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร และจะล้ำที่ดินต่างเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ เว้นแต่จะได้รับความ
ยินยอมเป็นหนังสือ
- ๕ - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๔.๑๐ การควบคุมด้านเสียงและแสง
๔.๑๐.๑ การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารจะ
กระทำ
ให้เกิดเสียงดังเกินกว่า ๗๕ เดซิเบล (เอ) ในระหว่างระยะ ๓๐ เมตร ไม่ได้
๔.๑๐.๒ ห้ามก่อสร้างหรือกระทำการใด ๆ ในบริเวณที่ได้รับอนุญาต
ให้ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ซึ่งก่อให้เกิดเสียง แสง และมลภาวะรบกวน
ต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย ของผู้อยู่อาศัยข้างเคียงระหว่าง ๒๒.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น. เว้นแต่จะมี
มาตรการป้องกันเป็นอย่างดีและได้รับการเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้ว
๔.๑๑ ผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัติ
วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. ๒๕๐๘ ต้องแสดง
รายการตรวจสอบงานก่อสร้างตามมาตรฐานการปฏิบัติงานทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมควบ
คุม โดยส่งเป็นเอกสารบันทึกผลการตรวจสอบลงลายมือชื่อกำกับแล้วส่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ตรวจ
สอบภายในวันท ี่ ๕ ของทุกเดือนตามภาคผนวกท้ายประกาศน ี้
๔.๑๒ ในกรณีที่วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง หรือสิ่งป้องกันภยันตรายเกิดการ
ชำรุดเสียหาย ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินต้องหยุดการก่อสร้าง
ทันทีจนกว่าแก้ไขข้อขัดข้องให้เรียบร้อยก่อน จึงจะดำเนินการสร้างต่อไปได้
๔.๑๓ ห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดพักอาศัย หลับนอน หรือนอนค้างในอาคาร
ที่กำลังก่อสร้าง
๕. เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ
๕.๑ ต้องรีบดำเนินการเก็บเศษวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้าง และทำความ
สะอาดบริเวณสถานที่ก่อสร้างและรอบสถานที่ก่อสร้างโดยเร็ว
๕.๒ ต้องทำการล้างท่อระบายน้ำ หรือทำความสะอาดทางระบายน้ำ
สาธารณะให้ปราศจากเศษวัสดุที่ตกหล่นอันเนื่องมาจากการก่อสร้างให้เรียบร้อย
๕.๓ ในกรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารทำให้
ถนนทางสาธารณะหรือสาธารณูปโภคอื่นๆ เกิดความเสียหายต้องทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพ
ที่ดี
๕.๔ การต่อเชื่อมสิ่งต่างๆ กับสาธารณูปโภค เช่น การเปิดทางเข้า-ออก การ
เชื่อมท่อระบายน้ำ การต่อเชื่อมท่อประปา ฯลฯ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมและ
ต้อง
เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ
หมวด ๒
- ๖ - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สาธารณูปโภค
การก่อสร้าง ปรับปรุง
-----------
๖. ก่อนดำเนินการก่อสร้าง หรือปรับปรุงสาธารณูปโภค
๖.๑ ก่อนเริ่มลงมือก่อสร้าง ปรับปรุง ผู้รับจ้างหรือผู้ดำเนินการ ต้องสำรวจ
รายละเอียดตำแหน่ง ความลึก และขนาดของโครงสร้างใต้ดิน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น ถนน ท่อ
ระบายน้ำ ท่อประปา สายเคเบิล ฯลฯ และวางมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันมิให้เกิด
ภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
๖.๒ ต้องจัดให้มีแผนการลดผลกระทบด้านเสียง และความสั่นสะเทือนขณะ
เจาะหรือตอกเข็มและให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมกำหนด
๖.๓ ต้องจัดให้มีการวางแผนกองวัสดุในบริเวณก่อสร้าง โดยกองวัสดุเท่าที่
จำเป็น เมื่อเปิดหน้าดินแล้วต้องปิดหน้าดินด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น
ละออง
เช่น คอนกรีต ยางแอลฟัลต์ ฯลฯ และจะต้องดำเนินการปิดผิวดินทันทีที่ไม่มีความจำเป็นต้อง
ทำงานที่ผิวพื้น โดยเฉพาะการก่อสร้างบนถนนในกรณีจำเป็นต้องใช้แผ่นเหล็ก ให้ใช้แผ่นเหล็กที่มี
ความแข็งแรงเพียงพอและไม่โก่งตัวมากเกินไป ไม่ก่อให้เกิดเสียง ความสั่นสะเทือน รอยต่อของ
แผ่น
เหล็กจะต้องให้ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม และผิวของแผ่นเหล็กต้องไม่ลื่นไถล
๖.๔ วางแผนการก่อสร้างให้เป็นระบบแห้ง เช่นงานเสาเข็ม ควรใช้ระบบตอก
แทนระบบเข็มเจาะและใช้เครื่องจักรกลที่ปราศจากควันหรือมลภาวะ
๖.๕ ควรจัดเทคนิคการก่อสร้างให้เป็นระบบสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูปที่มีการ
หล่อคอนกรีต หรือการก่อสร้างที่หน่วยงานก่อสร้างให้น้อยที่สุด
๖.๖ ต้องจัดให้มีขั้นตอนการขนย้ายวัสดุที่รื้อถอนออก หรือขุดดินอย่างม ี
ประสิทธิภาพและจะต้องมีรถบรรทุกมารับ นำไปทิ้ง โดยไม่มีการกองหรือกักไว้ที่หน้างาน
๖.๗ จัดเทคนิคการก่อสร้างที่หลีกเลี่ยงการปิดกั้นการจราจร
๗. ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง หรือปรับปรุงสาธารณูปโภค
๗.๑ ผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัติวิชา
ชีพวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๒๐ และพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. ๒๕๐๘ ต้องตรวจสอบงานก่อสร้างตาม
มาตรฐานการปฏิบัติงานทางวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมควบคุม และต้องกำกับดูแลงานก่อสร้าง
หรือปรับปรุงให้ดำเนินการไปโดยถูกต้องตามรูปแบบ รายการและวิธีการที่เหมาะสม ตามจรรยา
บรรณในการประกอบวิชาชีพ
๗.๒ กำหนดขอบเขตหน่วยงานก่อสร้างให้ชัดเจน ทางเข้า-ออก และเวลาที่ใช้
- ๗ - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

เข้า-ออกต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการจราจร
๗.๓ เมื่อแนวโครงการตัดผ่านชุมชนหรือแนวของโครงการอยู่ห่างจากชุมชนไม่
เกิน ๑๐๐ เมตร จากขอบเขตโครงการ หรือเขตก่อสร้างบนถนน หรือทางเดินเท้า จะต้องดำเนิน
การ
ป้องกันผลกระทบด้านฝุ่นละออง เสียง ความสั่นสะเทือนและการจราจร ดังต่อไปนี้
๗.๓.๑ บริเวณที่ทำการเปิดผิวหน้าดิน รื้อถอน ทำลายสิ่งปลูกสร้างกอง
วัสดุอุปกรณ์ ขุดเจาะ ผสมคอนกรีตต้องทำรั้วทึบ เช่น คอนกรีตทึบ เหล็กแผ่นหนา หรือไม้
กระดาน
หนาโดยรอบบริเวณที่ดำเนินการ มีความสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า ๑ เมตร และต้องมีความมั่นคง
แข็งแรง สามารถป้องกันการกระแทกและยึดติดแน่นกับพื้น เพื่อกันดิน น้ำ ทราย โคลน ไหลออก
สู่
ภายนอก เว้นแต่ลักษณะงานทางเทคนิคที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องที่ไม่สามารถจัดทำรั้วได้ ผู้ดำเนิน
การต้องเสนอวิธีการป้องกันภยันตราย และเหตุเดือดร้อนรำคาญให้กรุงเทพมหานครเห็นชอบ
ก่อน
๗.๓.๒ ภายในรั้วทึบต้องจัดให้มีร่องน้ำและบ่อกักเก็บน้ำขนาดเพียงพอ
เพื่อรองรับน้ำที่เกิดจากการราดน้ำ หรือล้างล้อรถขนส่งวัสดุ เมื่อปริมาณน้ำมากเพียงพอต้องดูด
ไป
กำจัดที่อื่น
๗.๓.๓ ปากทางเข้า-ออกต้องปิดทับด้วยวัสดุถาวร เช่น คอนกรีต ยาง
แอสฟัลต์ ฯลฯ ต้องไม่เปิดทางเข้า-ออก ในพื้นที่ก่อสร้างเกินกว่า ๑ ช่องทางและต้องไม่กลบช่อง
ทาง
น้ำไหลเพื่อใช้เป็นทางเข้า-ออก รวมทั้งต้องไม่กระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ระบบ
ระบายน้ำ หรือกีดขวางช่องทางน้ำสาธารณะ
๗.๓.๔ บริเวณที่ตั้งโรงงานผสมคอนกรีต ต้องห่างจากชุมชนที่พักอาศัย
อย่างน้อย ๑๐๐ เมตร หรือเป็นระบบปิดทั้งหมด และต้องกั้นรั้วสูงอย่างน้อย ๓ เมตร รอบบริเวณ
ที่
ทำกิจกรรมดังกล่าว
๗.๔ การเจาะ การตอกเสาเข็ม การขุดผิวดิน การตอก กระแทกหรือตอกภายใน
รั้วที่มีพื้นที่ก่อสร้างให้ทำในช่วงเวลากลางวันไม่ควรทำในเวลากลางคืนเพราะจะเกิดความรบกวน
ต่อประชาชน
๗.๕ ก่อนออกจากเขตก่อสร้าง ต้องจัดให้มีบริเวณสำหรับล้างล้อรถขนส่งวัสดุ
๗.๖ การลำเลียงวัสดุทำได้เฉพาะตอนกลางคืน และควรทำให้เสร็จในคราว
เดียวโดยหลีกเลี่ยงการกองวัสดุที่เหลือใช้ไว้ที่บริเวณหน้างาน
๗.๗ ต้องขนย้ายขยะและเศษวัสดุที่เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงออกจาก

บริเวณโครงการอย่างน้อยทุกๆ ๒ วัน หากยังไม่พร้อมที่จะขนย้าย ต้องจัดให้มีที่พักรวมที่มีขนาด
เพียงพออยู่ในตำแหน่งที่สะดวกต่อการจัดเก็บ และต้องป้องกันไม่ให้เกิดฝุ่นละอองสิ่งสกปรก
เปรอะ
เปื้อนตลอดเวลา
๗.๘ ให้ทำงานเฉพาะในเขตก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ห้ามรุกล้ำเขต
จราจรหรือทางเท้าสาธารณะโดยพลการ
๗.๙ การก่อสร้างบนทางเดินเท้า จะต้องป้องกันไม่ให้ดิน ตะกอน เศษวัสดุ
ก่อสร้างลงไป หรืออุดช่องระบายน้ำ
ในกรณีที่มีน้ำท่วมขังจะต้องเร่งระบายน้ำบนทางเดินเท้า บนถนนข้างเคียงให้
หมดโดยเร็วและกวาดเอาดินตะกอน เศษวัสดุก่อสร้างบนถนนออกทันที รวมทั้งจัดให้มีทางเดิน
เท้าชั่วคราวให้ประชาชนด้วย
๗.๑๐ ให้ดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุง สาธารณูปโภคเป็นช่วงสั้นๆ และให้
สามารถควบคุมเหตุเดือดร้อนรำคาญได้
๗.๑๑ การก่อสร้างในผิวจราจร หลังจากเสร็จแล้วต้องปิดผิวหน้าด้วยวัสดุ
เช่น คอนกรีต ยางแอสฟัลต์ ฯลฯ ไม่ควรใช้แผ่นเหล็กวางปิดไว้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวควรจะเรียบ
ร้อยก่อน ๐๕.๐๐ น. เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง เนื่องจากรถที่วิ่งผ่านไปมา
๗.๑๒ การกองวัสดุที่มีฝุ่น ต้องปิดหรือปกคลุม หรือเก็บในพื้นที่ที่ปิดล้อม
ด้านบน และด้านข้างอีก ๓ ด้าน หรือฉีด พรม ด้วยน้ำเพื่อที่จะให้ผิวเปียกอยู่เสมอหรือวิธีการอื่น
ที่
เหมาะสม
๗.๑๓ จะต้องทำการกำจัดดิน ทราย โคลน ที่ตกหล่นอยู่ที่รอบนอกบริเวณ
รั้วพื้นที่ก่อสร้างเป็นประจำ ถ้าอากาศแห้งให้ทำการดูดฝุ่นตกค้าง หรือกวาดแบบเปียกไม่ควร
กวาด
แบบแห้งเพราะจะทำให้เกิดฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย
๗.๑๔ การก่อสร้างบนถนน จะต้องทำการล้างถนน และทำความสะอาดพื้นที่
ตลอดช่วงที่ทำการก่อสร้างทุกวันในเวลากลางคืน
๗.๑๕ ในระหว่างที่รอการติดตั้ง ทดสอบ หรือย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้
ปรับผิวถนนด้วยวัสดุกึ่งถาวรเป็นการชั่วคราว เช่น คอนกรีต แอสฟัลต์ ฯลฯ
๗.๑๖ เมื่อได้รับการร้องเรียนจากผลกระทบของการก่อสร้าง ผู้ดำเนินการจะ
ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขทันที
๗.๑๗ ผู้ดำเนินการจะต้องดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไข
ในหนังสืออนุญาต และหลักวิธีประสานงานโดยเคร่งครัด
๘. เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ต้องรีบดำเนินการเก็บเศษวัสดุที่เหลือจาก
การก่อสร้าง ทำความสะอาดบริเวณสถานที่ก่อสร้าง และรอบๆ สถานที่ก่อสร้างโดยเร็ว

หมวด ๓
การขนส่งวัสดุ
------------
๙. การขนส่งวัสดุ
๙.๑ รถบรรทุกวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างหรือเศษวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้าง
ต้องจัดให้มีผ้าใบคลุมให้มิดชิด โยงยึดแข็งแรง
๙.๒ ยานพาหนะที่ใช้ต้องไม่บรรทุกน้ำหนักเกินความสามารถในการรับน้ำหนัก
บรรทุกมาตรฐานของถนนที่กรุงเทพมหานครที่กำหนดไว้
๙.๓ ห้ามมิให้ผู้ใดล้างรถยนต์หรือล้อเลื่อนลงบนถนนหรือที่สาธารณะและทำ
ให้ถนนหรือที่สาธารณะสกปรก
๙.๔ ห้ามมิให้ผู้ใดปล่อยเศษวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้าง หรือที่ติดค้างมากับรถ
บรรทุกวัสด ุ ลงบนถนน ทางระบายน้ำ หรือในที่สาธารณะใดๆ
หมวด ๔
บทลงโทษ
----------------
๑๐. ผู้ฝ่าฝืนประกาศฉบับนี้ต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
ต่างๆ ดังนี้
๑๐.๑ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐.๒ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ
บ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐.๓ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐.๔ พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๒ และ พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๐
๑๐.๕ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐.๖ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พิจิตต รัตตกุล

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
[รก.๒๕๔๐/๕ง/๖๔/๑๖ มกราคม ๒๕๔๐]
จารุวรรณ/แก้ไข
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕
A+B (C)
bigkid
 
โพสต์: 42
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:07 am

ย้อนกลับไปยัง การออกแบบ-ก่อสร้าง หอพัก

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron