หน้าแรก | เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก | ติดต่อโฆษณา | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา

ภาษีการทำอพารท์เมนท์

วางแผนภาษี บุคคลธรรมดา คะบุคคล นิติบุคคล ระบบบัญชีสำหรับ หอพัก
ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีป้าย สิทธิ์เก็บกิน ทำบัญชี...

ภาษีการทำอพารท์เมนท์

โพสต์โดย bigkid เมื่อ จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:38 am

ดิฉันกำลังจะเปิดอพาทเมนท์จำนวน 20 ห้องโดยคิดเป็นราคาค่าเช่า 2500 และค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ 1500 และปกติดิฉันมีรายได้ประมาณ 180000 ต่อปีไม่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาเนื่องจากหักลดหย่อนประกันชิวิต พ่อไม่ได้ทำงานได้ลดหย่อน อีก 30000 อยากทราบว่าดิฉันควรจะคิดจากรายได้อพาทเมนท์เป็นแบบบุคลหรือแบบคณะบุคคลโดยบิลที่ใช้ซื้อของในการสร้างอพาทเมนท์ รวมทั้งโฉนดและสัญญาการก่อสร้าง เป็นชื่อดิฉันส่วนเฟอร์นิเจอร์ แอร์ ผ้าม่าน ยังไม่ได้มีการออกบิลเพื่อจะทำคณะบุคคลกับพี่สาว โดยดิฉันจะเป็นการออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ส่วนพี่สาวจะออกในส่วนของเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน

ค่าก่อสร้างอาคาร 8,500,000
ค่าเฟอร์นิเจอร์ 700,000+ ค่าอุปกรณNไฟฟ้ากล้องวงจรปิด key card + internet 100000+แทงค์นำ70,000+ ม่าน 100,000
ประมาณการรายจ่ายต่อปี ค่าผ่อนธนาคาร 40000/เดือน + ค่าพนักงาน 20000/เดือน + นำไฟโทรศัพท์ UBC 10000/เดือน ประมาณ 850000 ต่อปี

ค่าดอกเบี้ย 4.5
bigkid
 
โพสต์: 42
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:07 am

Re: ภาษีการทำอพารท์เมนท์

โพสต์โดย bigkid เมื่อ จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:39 am

1. ก่อนอื่นเรามาวิเคราะห์โครงสร้างของรายได้กันก่อนครับ โดยน่าจะมีรายได้จาก
1.1 รายได้ค่าเช่าห้อง 2,500 * 20 *12 = 600,000 บาทต่อปี ( ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จะต้องเสียภาษีโรงเรือนในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี )
1.2 รายได้ค่าเช่าเฟอร์ 1,500 * 20 * 12 = 360,000 บาทต่อปี ( ไม่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน )
1.3 รายได้ค่าน้ำประปา , ค่าไฟฟ้า , ค่าโทรศัพท์ และค่าบริการอินเตอร์เนต ( ไม่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน )
1.4 รายได้อื่น ( ถ้ามี ) เช่น ค่าส่วนกลาง , ค่าที่จอดรถ , ค่าเช่าตั้งเครื่องบริการน้ำดื่ม , เครื่องซักผ้า เป็นต้น ( ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จะต้องเสียภาษีโรงเรือนในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี )

2. เมื่อได้โครงสร้างของรายได้แล้ว ค่อยมาวิเคราะห์โครงสร้างด้านรายจ่าย อันประกอบไปด้วย
2.1 ค่าก่อสร้างอาคาร ( หากมีสัญญาว่าจ้างและมีหลักฐานการจ่ายสมบูรณ์ กล่าวคือ พิสูจน์ผู้รับได้ อย่างไรถึงเรียกว่าพิสูจน์ผู้รับได้ คือ จ่ายเป็นเช็ค หรือโอนเข้าบัญชีธนาคาร ครับ ) ถ้ามีหลักฐานครบถ้วน ควรเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจ่ายจริง
2.2 ค่าตกแต่ง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ถ้ามีหลักฐานครบถ้วน ควรเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจ่ายจริง
2.3 ดอกเบี้ยจ่าย ให้ดูคู่สัญญาว่ากู้ในนามใคร เพื่อจะได้จับคู่กันระหว่างรายได้ของนาย ก. กับดอกเบี้ยจ่ายของนาย ก.
ข้อควรระวัง ในการกู้ยืมนี้ จะให้ลดปัญหาการโต้แย้งกับเจ้าพนักงานสรรพากร ควรจะมีหลักฐานการนำเงินที่กู้มานี้ไปใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร การตกแต่ง หรือซื้อของต่างๆ มิฉะนั้น อาจถูกมองว่าเงินที่กู้มานั้น ไม่ได้ถูกนำมาใช้เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ ซึ่งมีผลให้ดอกเบี้ยด้งกล่าวไม่สามารถมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

3. การตัดสินใจทางเลือกในการเสียภาษี
จากข้อมูลโครงสร้างรายได้ รายได้รวมทั้งหมดทุกประเภทแล้ว เสียภาษีในนามบุคคลธรรมดาจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ

แต่จะเสียอย่างไรให้ถูกต้อง ครบถ้วน และประหยัด เงื่อนไขสำคัญจึงมาตกอยู่ที่เอกสารด้านรายจ่ายต่างๆ กล่าวคือรายได้เกือบทุกประเภท สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธีคือ
ก. หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ
1. การขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร สำหรับเงินได้ประเภทที่ 5,6,7 และ 8 ดังกล่าว มาข้างต้นนั้น รายจ่ายที่จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นค่าใช้จ่ายตามปกติ มีความเกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจแต่ละประเภทหรือต่อเงินได้แต่ละชนิด
(2) เป็นจำนวนที่สมควรและเหมาะสมแก่กิจการ
(3) ไม่เป็นรายจ่ายที่กฎหมายห้ามมิให้หักเป็นรายจ่าย
(4) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการหักใช้จ่ายพร้อม ที่จะให้พนักงานตรวจสอบได้
2. การเลือกขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรนี้ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกปฏิบัติได้ว่า ปีใดจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือปีใดจะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและ สมควรได้ นอกจากนี้ในปีภาษีเดียวกันเองผู้มีเงินได้ยังอาจหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้ประเภทหนึ่ง และหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรสำหรับเงินได้อีกประเภทหนึ่งได้ด้วย แต่เงินได้ประเภทและชนิด เดียวกัน หากเลือกหักค่าใช้จ่ายตามวิธีใดแล้ว จะต้องใช้วิธีเดียวกันสำหรับเงินได้ประเภทนั้นทั้งประเภท
3. เงินได้ประเภทที่ 8 กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไร ผู้มีเงินได้อาจเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไปก็ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดภาษีได้

ข. หักเป็นการเหมาในอัตราที่กำหนด
1) ถ้าเป็นบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ยกเว้นในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้ เช่าช่วง แล้วแต่กรณี
2) ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 20 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
3) ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีที่เจ้าของเป็นผู้ให้เช่าหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 15 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะค่าเช่าที่เสียให้ แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
4) ยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ในกรณี ให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
5) ทรัพย์สินอย่างอื่น ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 10 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี

สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ที่
http://www.rd.go.th/publish/309.0.html

4. ตามความเห็นส่วนตัว จากข้อมูลในเบื้องต้นนี้ สามารถเสียภาษีในนามบุคคลคนเดียวได้ครับ โดยไม่ต้องแยกรายได้เฟอร์นิเจอร์ออกมาก็ได้ครับ ( แต่ถ้าแยกได้ก็จะทำให้ฐานภาษีต่ำลง ภาษีก็จะเสียน้อยลง แต่มีข้อควรระวังในเรื่องของกรรมสิทธิ์ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ และการรับเงิน รวมถึงการออกใบเสร็จ ที่จะต้องแยกออกจากค่าเช่านะครับ ไม่สามารถออกใบเสร็จรวมกับค่าเช่าได้ )

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม
1. โฉนดที่ดิน มีชื่อใครเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์บ้าง
2. ใบอนุญาตก่อสร้าง เป็นนามใคร
bigkid
 
โพสต์: 42
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:07 am


ย้อนกลับไปยัง การวางแผนภาษี-บัญชี หอพัก

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron