งานฐานราก,เสาเข็ม
ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม โดยการหล่อให้เป็นตอม่อ เพื่อรับโครงสร้างของบ้าน,ส่วนนี้สำคัญมากควรทำตามแบบวิศวกร ไม่ควรตัดลดเพราะเมื่อมีปัญหาจะแก้ยากมาก เพราะอยู่ใต้ดิน
เสาเข็ม คือ ส่วนที่รับน้ำหนักอยู่ใต้สุดของตัวบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือเข็มตอก กับ เข็มเจาะ เข็มตอก มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม,หกเหลี่ยม หรือรูปตัวไอ วิธีการตอกก็คือตอกลงไปด้วยกำลังคน หรือปั้นจั่น ก็ได้จนสุดความยาวของเข็ม
• เข็มเจาะ คือ การเจาะดินลงไปก่อน แล้วหย่อนแม่แบบ เหล็กลงไปใส่เหล็กเสริมแล้วจึงเทคอนกรีตตามลงไปในหลุม
• เข็ม เจาะจะมีราคาสูงกว่าเข็มตอก แต่จะทำให้บ้านข้าง เคียงไม่เดือดร้อน เพราะไม่เกิดแรงสั่นสะเทือนเหมือนเข็มตอก เหมาะสำหรับบ้านที่ปลูกติดกัน
งานคอนกรีต
ชนิดของปูนซีเมนต์ ปูนซีเมนต์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- ปูนชนิดที่หนึ่ง เป็นปูนที่มีความแข็งแรง มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะดี ใช้สำหรับทำโครงสร้างที่ต้องการรับน้ำหนัก คือ ปูน Portland Cement เช่น ปูนตราดอกจิก,ตราช้าง จะมีราคาแพงกว่า
- ปูน ชนิดที่สอง จะมีความแข็งแรงน้อยกว่า เหมาะ สำหรับงานที่ต้องการความปราณีตเรียบร้อย เช่น งานฉาบปูน หรืองานก่อ ซึ่งการรับน้ำหนัก และการยึดเกาะจะสู้แบบแรก ไม่ได้ คือ ปูนSilica Cement เช่น ปูนตรางูเห่า ตราเสือ จะ มีราคาถูกกว่าการใช้งานต้องใช้ให้ถูกประเภทของงาน มิฉะนั้นจะ ทำให้เกิดปัญหาในการรับน้ำหนัก หรือการแตกร้าวได้ ซึ่งจะ มีอันตรายมาก
ส่วนผสมของคอนกรีต
สัดส่วนของคอนกรีต จะมีสัดส่วนปูนซีเมนต์ต่อทราย ต่อหิน ดังนี้
สัดส่วน 1 : 1.5 : 3 จะเป็นงานเสาและโครงสร้าง
สัดส่วน 1 : 2 : 4 จะเป็นงานพื้น, คาน
สัดส่วน 1 : 2.5 : 4 จะเป็นงานถนน ฐานราก
ปูน ซีเมนต์ที่ใช้จะต้องถูกต้องตามชนิดของการใช้งานทรายและหินต้องสะอาด ขนาดได้ตามที่ต้องการการตวงวัสดุควรใช้กะบะตวงที่ได้มาตรฐานแทนการ ใช้บุงกี๋ซึ่งไม่แน่นอน
การเทคอนกรีตอย่างถูกวิธี
ก่อน เทควรทำให้พื้นที่ที่จะเทชุ่มชื้นเสียก่อน เพื่อจะ ได้ไม่มาดูดน้ำจากคอนกรีต ควรเทในขณะที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว เมื่อเทแล้วจะต้องไม่ให้เกิดช่องว่าง หรือเป็นโพรง คือ ต้องเข้าไปทุกซอก ทุกมุม เพื่อให้หุ้มเหล็กที่เสริมอยู่โดย ตลอด วิธีการจะทำโดยการกระทุ้งด้วยมือ หรือจะใช้เครื่องสั่น คอนกรีตก็ได้วิธีการนี้จะทำให้โครงสร้างมีกำลังรับน้ำหนักได้เต็มที่ และมีผิวสวยงามอีกด้วย
การหล่อโครงสร้างบ้านที่ติดกับดิน
โดย ทั่วไปแล้วผู้รับเหมา มักจะใช้ดินหรือทรายใต้ ท้องคานเป็นแบบที่ใช้หล่อเลย ซึ่งจะทำให้คอนกรีตที่เทลงไปนั้น จะไม่สามารถหุ้มเหล็กโครงสร้างได้ทั้งหมด ทำให้ ไม่สามารถรับแรงได้เท่าที่ควร วิธีที่ถูกต้อง ควรจะเทคอนกรีตหยาบทับหน้าดินหรือ ทราย เพื่อเป็นท้องแบบก่อนจะดีกว่า แล้วใช้ลูกปูนหนุนเหล็ก เพื่อให้ปูนสามารถหุ้มเหล็กได้ทั้งหมด ด้วยวิธีนี้จะได้โครงสร้าง ที่ได้มาตรฐานตามที่ต้องการ
ปัญหาเกี่ยวกับงานโครงสร้าง
ปัญหาส่วนนี้สำคัญมาก ส่วนใหญ่เกิดจาก
1. แบบมีรายละเอียดไม่พอ เช่น ขนาดของเสา และ คาน จำนวนและขนาดของเหล็กเสริมต่างๆ ไม่ชัดเจน จึงทำ ให้ช่างมีโอกาสทำงานผิดพลาดได้
2. ชนิดของคอนกรีตและส่วนผสมต่างๆ ต้องถูกต้อง ตามชนิดของงานที่ใช้ จะใช้ชนิดของงานปูนฉาบไม่ได้
3. โครง สร้างที่หล่อเสร็จแล้ว ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีช่องว่างหรือร่องรอยของหินหรือเหล็กโผล่ให้เห็นเพราะจะทำให้โครงสร้าง รับแรงไม่ได้ดีเท่าที่ควร
4. เมื่อหล่อเสร็จแล้ว อย่าลืมการบ่มคอนกรีต คือ การนำกระสอบที่ชุ่มน้ำมาห่อหุ้มไว้ เพื่อป้องกันการแตกร้าว
ปัญหาการทรุดตัวของบ้าน
การ ก่อสร้างเป็นปัญหาที่พบมาก เนื่องจากก่อสร้างจะ ต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดโดยผู้มีความชำนาญ เช่น การ ตอกเสาเข็ม ซึ่งรองรับฐานรากของอาคาร อาจเกิดเข็มแตก เข็มหักอยู่ใต้ดิน ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่คำนวณไว้ ปัญหาจากการต่อเติมและดัดแปลง มีการกั้นห้องเพิ่ม เติม มีแนวผนังไม่ตรงแนวคาน ก็เป็นสาเหตุทำให้บ้านทรุดตัว แตกร้าวได้ ปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ซึ่งในบ้าน เราพบน้อย เพราะไม่ได้อยู่แนวเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ไม่ เหมือนในต่างประเทศ
ปัญหาน้ำซึมเข้าบ้าน
ก่อน อื่นต้องทราบสาเหตุการรั่วซึมก่อนอาจจะเกิดจากท่อระบายน้ำที่ฝั่งอยู่ในบ้าน แตกร้าว แก้โดยการเปลี่ยนท่อใหม่ส่วนหลังคาคอนกรีตที่มีท่อระบายน้ำ ควรมีท่อน้ำ ล้นด้วย แต่ถ้ายังเกิดการแตกร้าว วิธีแก้ คือ ปูแผ่นยางกัน ซึมแล้วเททับด้วยคอนกรีตผสมน้ำยากันซึมอีกทีอาจจะเกิดรอยต่อของโครงสร้าง บ้านระหว่าง คานกับ ผนัง วิธีแก้โดยการสกัดให้เป็นร่อง แล้วอุดด้วยกาวคอนกรีต
ปัญหาการต่อเติมบ้าน
ในกรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียวจะต่อเป็น 2 ชั้น ถ้าตอน ที่สร้างไม่ได้เผื่อเสาเข็มไว้สำหรับ2 ชั้น ก็ห้ามต่อเติมเป็น 2 ชั้นอย่างเด็ดขาด เพราะอาจพังลงมาก็ได้
ใน กรณีที่ต่อเติมบางส่วน ก็ควรปรึกษาวิศวกรก่อน เพราะการออกแบบโครงสร้างจะเผื่อน้ำหนักปลอดภัยไว้ ถ้าเรามาต่อเติมส่วนนี้บ้านจะไม่ปลอดภัยเพราะจะทำให้โครง สร้างรับน้ำหนักมากเกินไป
วิธีการป้องกันปลวก
ปลวกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ปลวกไม้แห้ง เป็นปลวกที่เข้าสู่ตัวบ้านโดยบินเข้ามา หรือที่เรียกว่า "แมลงเม่า"
จะอยู่ตามซอกไม้ใต้หลังคา
2. ปลวกใต้ดิน เป็นปลวกที่ทำให้บ้านเสียหายมากที่สุด จะเข้ามาโดยทำเป็นท่อลำเลียงมาจากใต้พื้นดิน
วิธีป้องกัน คือ
ใช้น้ำยาทาไม้เพื่อป้องกันปลวกไม้แห้ง
ใช้น้ำยาราดลงไปในดิน เพื่อป้องกันปลวกใต้ดิน
งานพื้น
ประเภทของพื้น :
พื้นโครงสร้างไม้ มีข้อดี คือ น้ำหนักเบา ติดตั้งได้สะดวก รวดเร็ว เป็น งานแห้ง ไม่เลอะเทอะแต่มี ข้อเสีย คือ รับน้ำหนักไม่ได้มาก มีเสียงดัง กัน น้ำไม่ได้ และในปัจจุบันไม้ที่ดีหายาก และราคาค่อนข้างแพง
พื้นโครงสร้างคอนกรีต
มีข้อดี คือ มีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้ดี กันน้ำได้ เหมาะสำหรับทำห้องน้ำ หรือชั้นดาดฟ้า วัสดุที่ใช้ ปูผิวมีให้เลือกมาก เช่น ปาร์เก้ กระเบื้องเคลือบ หินอ่อน แกรนิต
ข้อเสีย คือ เป็นงานเปียก เลอะเทอะง่าย ค่อนข้าง ยุ่งยากในการก่อสร้าง ต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์ ใช้เวลา นานจึงจะใช้งานได้ ต้องมีระยะเวลาบ่มคอนกรีต มีน้ำหนักมาก พื้นสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป คือ แผ่นพื้นคอนกรีตที่หล่อมาจากโรง งานแล้วมาวางตามสถานที่ก่อสร้างได้เลย หลังจากนั้นก็วาง เหล็กเสริมด้านบน โดยมีเหล็กยื่นเข้าไปในคานด้วย แล้วจึง เทปูนทับหน้าอีกทีหนึ่งหนาประมาณ 5 ซม. มีผลดี คือ สามารถก่อสร้างได้สะดวก รวดเร็ว แต่ ห้ามใช้ในพื้นที่ที่โดนน้ำเช่น ห้องน้ำ ระเบียงชั้นดาดฟ้า ควร ใช้พื้นที่หล่อกับที่ ข้อควรระวัง การออกแบบโครงสร้างที่รับพื้นสำเร็จ รูปกับพื้นหล่อกับที่ต่างกัน ห้ามเปลี่ยนแปลงเอง นอกจาก จะแจ้งให้วิศวกรแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างให้ก่อน
พื้นถนนคอนกรีต
ข้อดี มีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มาก ดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยแตกร้าว
ข้อเสีย ดูแข็งกระด้าง สีไม่สวยงาม การก่อสร้าง ค่อนข้างยุ่งยาก เป็นงานเปียก ถ้าแตกร้าว ซ่อมแซมได้ยาก
พื้นถนนอิฐบล็อค
ข้อดี มีสีสันลวดลายให้เลือกมากมาย การติดตั้งง่าย และสะดวก ถ้าเกิดการแตกหัก หรือการทรุดตัว สามารถแก้ ไขได้ง่าย
ข้อเสีย เกิดการทรุดตัวได้ง่าย รับน้ำหนักได้น้อยกว่า อาจเกิดการแตกหักได้ง่าย การดูแลรักษายากกว่า เพราะมีร่อง และรอยต่อมาก
วัสดุปูพื้น :
พื้นปาร์เก้
ข้อดี คือ ให้ความสวยงาม อบอุ่น ดูเป็นธรรมชาติ ราคาไม่แพงมาก ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของไม้ที่ใช้ มีอายุ การใช้งานได้นาน
ข้อเสีย คือ เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย ติดไฟ ไม่สามารถ ทนความชื้นได้นาน มีปัญหาเรื่องปลวก
พื้นกระเบื้องเคลือบ
พื้นกระเบื้องเคลือบ
ข้อดี คือ มีความแข็งแรง มีแบบและสีสันให้เลือก มากมาย ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย
ข้อเสีย คือ มีรอยต่อของแผ่นมาก ดูแข็งกระด้าง ไม่นิ่มนวล จะลื่นเมื่อโดนน้ำ และถ้าโดนของแข็งหล่นทับ อาจแตกร้าวได้
พื้นหินขัด
ข้อดี ดูแลรักษาง่าย ราคาไม่แพง มีลูกเล่น สามารถ ออกแบบให้มีลวดลาย และสีสันได้มาก ไม่มีรอยต่อ
ข้อเสีย ดูแข็งกระด้าง จะลื่นเมื่อเวลาโดนน้ำ การทำ ค่อนข้างยุ่งยาก เป็นงานเปียก ทำให้เลอะเทอะ เวลาแตกร้าว ซ่อมแซมยากพื้น
กระเบื้องยาง
ข้อดี ราคาถูก ติดตั้งง่าย มีสีสันและขนาดให้เลือก มากผิวดูนุ่มนวลไม่แข็งกระด้าง ซ่อมแซมง่าย
ข้อเสีย มีรอยต่อมาก อายุการใช้งานไม่นาน ดูไม่ ภูมิฐาน ผิวอ่อน จะมีรอยขูดขีดได้ง่าย ถ้าพื้นคอนกรีตไม่ เรียบ เวลาปูเสร็จแล้วจะดูเป็นคลื่นไม่สวยงาม
หินอ่อน
ข้อดี ดูสวยงามภูมิฐาน มีสีสันให้เลือกมากมาย ดู แลเป็นธรรมชาติ กันน้ำได้ดี ไม่ผุกร่อน มีรอยต่อน้อย
ข้อเสีย ใช้ได้เฉพาะภายในบ้าน และควรอยู่ในส่วน ที่ไม่โดนรอยขีดข่วน มีผิวอ่อน บางชนิดมีราคาแพง
หินแกรนิต
ข้อดี มีความแข็งแกร่ง ทนต่อรอยขีดข่วนได้ดี ใช้ ได้ทั้งภายนอก และภายใน ดูแลรักษาง่าย มีความหรูหรา น่าภูมิฐาน
ข้อเสีย มีราคาค่อนข้างแพง ทำเป็นลวดลายค่อนข้าง ยาก เพราะมีความแข็ง มีสีสันให้เลือกน้อย
การปูพื้นไม้ปาร์เก้
ไม้ ที่นิยมนำมาใช้ปูพื้นส่วนใหญ่จะเป็นไม้สัก เพราะ มีคุณสมบัติ บิดงอน้อย ไม่มีปลวก และมอด มีสีสันลวดลาย สวยงาม ขนาดที่นิยมก็คือ 1 x 4 นิ้ว หรือ 1 x 6 นิ้ว ส่วน ความยาวประะมาณ 80 - 120 ซม. พื้นที่จะปูต้องขัดมันเรียบ การ ปูเริ่มจากการคัดไม้ที่มีตาออก แล้ววางเรียงแผ่น ไม้ทากาว วางเข้าลิ้น แล้วยึดแผ่นไม้กับพื้นคอนกรีตด้วยตะปู เพื่อรอให้กาวแห้ง เมื่อกาวแห้งจึงตัดหัวตะปู หรือฝังหัวลงไป เพื่อเตรียมการขัดผิวไม้ ซึ่งอย่างน้อยต้องรอประมาณ 5-7 วัน เมื่อขัดผิวไม้จนเรียบแล้วจึงย้อมสีไม้ให้ได้สีตามต้องการ หลัง จากนั้นจึงลงยูรีเทนเคลือบผิวอย่างน้อย 2 ครั้ง เป็นขั้นตอน สุดท้าย
การปูหินอ่อน และหินแกรนิต
พื้นที่จะปูต้องได้ระดับก่อน และต้องทำให้พื้นห้องที่ จะปูให้มีผิวหน้าหยาบ และขรุขระ ต่อจากนั้นก็ราดน้ำให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง จาก นั้นก็เทปูนทรายที่ไม่เหลวจนเกินไปรองพื้นก่อน แล้วจึงปูหินอ่อน หรือแกรนิตลงไปให้ได้แนว และกดหินให้ ติดแน่นกับปูน เพื่อให้ได้ระดับที่เสมอกันทุกแผ่น
การปูพื้นอิฐบล็อค
ขั้นแรก ต้องปรับพื้นให้ได้ระดับเสียก่อน ต้องเผื่อ ระดับความสูงของตัวบล็อคด้วย รองพื้นด้วยทรายหยาบหนาประมาณ 5 ซม.ราดน้ำแล้ว บดอัดให้แน่น ปูบล็อคให้ชิดกันห่างประมาณ 2 มม. ใช้ฆ้อนยางเคาะให้แน่น แล้วใส่ทรายลงไปในร่อง กวาดให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วันแล้วจึงใช้งาน
และถ้าใช้ไปได้ระยะหนึ่ง เกิดการทรุดตัว ก็สามารถ รื้อออกมา เพื่อปรับระดับใหม่ได้
การเลือกกระเบื้องห้องน้ำ
ก่อน อื่นต้องเลือกกระเบื้องให้ถูกชนิดก่อน อย่าลืม ว่าชนิดปูพื้นจะหนากว่าปูผนัง และไม่ควรผิวลื่นจนเกินไป เพราะเมื่อโดนน้ำจะเกิดอุบัติเหตุได้ ขนาดและยี่ห้อของ กระเบื้องพื้นและผนังควรจะเหมือนกัน เพราะเวลาปูแล้วรอย ต่อจะตรงกันไม่น่าเกลียด ส่วนสีสันก็แล้วแต่ชอบ ถ้าห้องเล็ก ก็ควรใช้สีใกล้เคียงกัน และอย่าให้มีลวดลายมาก จะทำให้ ดูห้องใหญ่ขึ้น เมื่อปูเสร็จแล้วควรเก็บชนิดกระเบื้องไว้จำนวน หนึ่ง เพื่อซ่อมแซมในอนาคต เพราะเมื่อถึงเวลานั้นขนาดและ สีที่เลือก อาจจะไม่ได้ผลิตแล้วก็ได้
ปัญหาพื้นคอนกรีตแตกร้าว
สาเหตุที่พื้นแตกร้าวก็คือ เกิดจากการบดอัดดินในบริเวณที่จะเทคอนกรีตไม่แน่นพอ จึงเกิดการทรุดตัว ทำให้ รอยต่อระหว่างพื้นกับผนังแตกร้าวอีกกรณีหนึ่งก็คือ พื้นบางเกินไป ควรจะเทหนาอย่าง น้อย 5 ซม.และต้องไม่ลืมใส่เหล็กตะแกรงด้วยส่วนผสมคอนกรีตก็มีความสำคัญ อัตราส่วนของปูน ทราย และหิน ก็คือ 1 : 2 : 4
การซ่อมกระเบื้องห้องน้ำ
ต้อง สกัดปูนเก่าที่ใช้ปูกระเบื้องเดิมออกให้หมดปัดฝุ่นออกแล้วพรมน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้จนเกือบแห้ง แล้ว ใช้ปูนซีเมนต์ขาวผสมน้ำให้ข้นเหนียวปาดใส่เข้าไปให้เสมอ กับผิวเดิมนำแผ่นกระเบื้องใหม่ มาใส่ปูนซีเมนต์ด้านหลังแล้วกดลงไปในส่วนที่ชำรุดเดิมเคาะผิวบนเบาๆ เพื่อให้เสมอกับ แนวกระเบื้องเดิม ทิ้งไว้ 1 - 2 วันก็สามารถใช้งานได้
การซ่อมกระเบื้องยาง
กระเบื้อง ยางที่โดนน้ำหรือความชื้นบ่อยๆ ก็จะหลุด ล่อนได้ วิธีแก้ไขคือ ใช้เตารีดลงบนแผ่นกระเบื้องที่บิดงอ โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์รองระหว่างเตารีดกับแผ่นกระเบื้องเมื่อหายงอแล้ว ก็ใช้กาวที่ใช้สำหรับติดกระเบื้องยาง โดยเฉพาะทาบนพื้น แล้วกดกระเบื้องยางให้สนิท ใช้ผ้าแห้ง เช็ดกาวส่วนที่เลอะออก หาของมาทับ ทิ้งไว้จนกว่าจะแห้ง หลังจากนั้นก็สามารถใช้งานได้
งานผนัง
ประเภทของผนัง
ผนังอิฐมอญ หรือเรียกว่า อิฐแดง จะมีขนาดเล็ก การก่อจะ เสียเวลามากมีน้ำหนักมาก ราคาจะแพง แต่มีความแข็งแรง ทนทาน
ผนังอิฐบล็อค จะมีความเปราะแตกง่าย มีน้ำหนักเบา ถ้าก่อ เป็นผนังของอาคารหลายชั้น จะทำให้ประหยัดโครงสร้างได้ มาก ราคาจะถูกกว่า
การก่อผนังอิฐ
ก่อน อื่นต้องนำอิฐไปแช่น้ำ เพื่อเวลาก่ออิฐ น้ำปูนจะ ได้ไม่โดนดูดออกไป เมื่อก่อเสร็จทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง เพื่อให้ ผนังระบายความร้อนออกมา แล้วจึงเริ่มฉาบปูน การฉาบต้องใช้ปูนทรายทำปุ่มขึ้นมาบนผนัง และตรง มุม เพื่อแสดงแนวความหนาของปูนฉาบ ซึ่งจะทำให้เรียบสม่ำ เสมอกัน ไม่หนาเกินไปจนทำให้ปูนฉาบแตกได้ และสัดส่วน ของปูนฉาบต้องถูกต้อง หลังจากนั้น ทิ้งผนังให้แห้งสนิทก่อน จึงทาสีได
สาเหตุการแตกร้าวของผนังปูนฉาบ
1. อาจเกิดจากชนิดของปูนซีเมนต์ไม่เหมาะสมกับ ประเภทงานฉาบผนัง และสัดส่วนการผสมปูนฉาบ
2. ผสมปูนขาวมากไป ตามปกติช่างจะผสมปูนขาว ลงไปเล็กน้อยในปูนฉาบ เพราะจะทำให้ลื่นฉาบง่าย แต่ถ้า มากเกินไปก็จะแตกร้าวได้
3. การเตรียมงานฉาบไม่ดีพอ ผนังก่ออิฐจะดูดซึม น้ำได้มาก ถ้าไม่มีการราดน้ำให้ชุ่มก่อน ก็จะเป็นสาเหตุให้ เกิดการแตกร้าวได้
4. ผนังก่ออิฐไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ปูนฉาบมีความ หนาไม่เท่ากัน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
การซ่อมผนังด้วยกาวคอนกรีต
พื้นที่ ที่จะใช้ต้องแห้งสนิทปราศจากฝุ่นและคราบน้ำมัน อย่าฉาบลงบนพื้นที่ที่เปียกอยู่ ถ้าเป็นรอยแตกร้าว ควรสกัดให้ผิวกว้างพอประมาณ
เมื่อกาวคอนกรีตแข็งตัว จะรับแรงได้เล็กน้อยในเวลา 2-3 ชม. แต่จะรับแรงเต็มที่ต้องให้ครบ 72 ชม. ในกรณีที่เกิดรอยร้าวจากการทรุดตัวของตัวบ้านต้องใช้เมื่อหยุดการทรุดตัว แล้วมิฉะนั้นจะแตกร้าวอีกกาวชนิดนี้ยังสามารถใช้กับการรั่วซึมของกระเบื้อง หลังคาได้ด้วย
สาเหตุที่ผนังภายนอกแตกร้าว
ผนัง ภายนอก เมื่อถูกแสงแดดมากๆ ก็จะสะสมความ ร้อน ทำให้ปูนขยายตัว เกิดการแตกร้าวได้ ถ้าเป็นผนังที่กำลังก่อสร้าง ก็ควรเซาะร่องแบ่งพื้นที่ ให้เล็กลง เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวปูนดันกันแตก การซ่อมแซม ควรใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นอุดเข้า ไปในส่วนที่แตกร้าว เพื่อให้ขยายตัวได้ส่วนการแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวของโครงสร้าง จะแก้วิธีนี้ไม่ได้ เพราะถ้าแก้แล้วก็จะแตกร้าวอีก
การแก้ผนังแตกร้าวที่เกิดจากวัสดุต่างชนิดกัน
สำหรับวัสดุที่ต่างชนิดกัน เช่น คอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังก่ออิฐเมื่อเวลาเราฉาบปูนวัสดุทั้ง 2 ชนิด จะมีความ แตกต่างในการดูดความชื้นไม่เท่ากัน จึงทำให้เมื่อฉาบปูนเสร็จแล้ว จะเกิดรอยแตกร้าวในบริเวณนี้วิธีแก้ไขก็คือ ก่อนการฉาบปูนในบริเวณนี้ ควรปู ด้วยตะแกรงเหล็กตาข่ายก่อน เพราะเมื่อฉาบปูนแล้วจะทำ ให้เกิดการยึดเกาะดีขึ้น ทำให้ไม่แตกร้าว และวิธีนี้ยังสามารถ ใช้ได้กับบริเวณที่เดินท่อประเภทต่างๆได้ด้วย
ผนังยิบซั่มบอร์ด
ผนัง ยิบซั่มมีคุณสมบัติในเรื่องของการติดตั้งได้สะดวก มีความแข็งแรงทนทาน มีความสามารถในการป้องกันไฟ ป้อง กันเสียง อีกทั้งยังป้องกันความร้อนได้ นอกจากนั้นเป็นวัสดุที่ มีน้ำหนักเบา คือ ประมาณ 30 กิโลกรัม /ตารางเมตร สามารถ ต่อเติมผนังได้ทุกส่วนของบ้านโดยไม่ทรุดตัว และที่สำคัญใน เรื่องของความเรียบได้ระนาบของผนัง ไม่ก่อให้เกิดความเลอะ เทอะ เพราะเป็นระบบแห้งและไม่มีปัญหาผิวผนังแตกร้าวเหมือน กับผนังก่ออิฐฉาบปูน สามารถตกแต่งทาสี ติดวอลล์เปเปอร์ได้ สวยงาม เหมาะสำหรับใช้ในอาคาร
ผนังยิบซั่มบอร์ดกับการป้องกันไฟ
วัสดุที่นำมาสร้างบ้าน ควรเป็นวัสดุทนไฟ้ได้นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะผนังห้องเพื่อถ่วงเวลาให้คนหนีออกมาได้ก่อนการลุกลามของไฟ หากต้านทานได้ไม่ดีพอจะทำให้อุณหภูมิภายนอกที่เกิดเพลิงไหม้ มีความร้อนสูงถึงจุดที่สิ่งของจะสามารถลุกไหม้ ได้เองโดยไม่ต้องมีเปลวไฟ ผนังยิบซั่มมีคุณสมบัติในการป้องกันไฟได้ดีผนังยิบซั่มที่มีความหนาขนาด 12 มม.และ 15 มม. สามารถทนไฟได้ตั้งแต่ 1/2 ถึง 4 ชั่วโมง เนื่องจากเนื้อยิบซั่มมีผลึกน้ำเมื่อเวลาโดนไฟ น้ำจะระเหยออกมาเป็นการต้านทานการส่งผ่าน ความร้อนไปอีกด้านหนึ่งของผนัง ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวผนังยิบซั่มจึงเหมาะสำหรับใช้ในการป้องกันไฟได้เป็น อย่างดี
การติดตั้งผนังยิบซั่มบอร์ด
การติดตั้งผนังยิบซั่มบอร์ดให้มีความแข็งแรง ทนทาน เหมาะสมกับการใช้งาน มีวิธีดังนี้
1. ควรใช้โครงเคร่าเหล็กชุบสังกะสี ที่มีความหนาอย่าง น้อย 0.55 มม. และมีขนาดหน้าตัดอย่างน้อย 76 x 32 มม. ทั้งโครงเคร่าตัวตั้งและตัวนอน ความหนาของแผ่นยิบซั่มอย่าง น้อย 12 มม. ระยะห่างโครงเคร่าไม่ควรเกิน 60 ซม.
2. โครง เคร่าเหล็กชุบสังกะสี ต้องได้มาตรฐานอุตสาห กรรม โดยตรวจสอบกับบริษัทผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ สำหรับพุกที่ใช้ ยึดกับโครงสร้างอาคาร หรือพื้นควรเป็นพุกเหล็ก EXPANSION BOLT
3. หาก ต้องการความแข็งแรงมากขึ้น ก็สามารถเลือก ใช้โครงเคร่าเหล็กที่มีขนาดหน้าตัดที่ใหญ่ขึ้น หรืออาจเพิ่มความ หนาของแผ่นยิบซั่มเป็น 15 มม. หรือใช้แผ่นซ้อนกัน 2 ชั้นก็ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถร่นระยะห่างโครงเคร่าจาก 60 ซม. เป็น 40 ซม.
การทำผนังบ้านเพื่อป้องกันความร้อนและเสียงรบกวน
สามารถ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ทำกระจกสองชั้นประกบกัน โดยเว้นช่องว่างตรงกลางเอาไว้ หรืออาจจะทำผนังเป็นแผ่นอคูสติกบอร์ดแต่สองแบบที่กล่าวมาอาจจะมีราคาสูง แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่ราคาไม่สูงมากและทำเองได้ คือ การยึดแผ่นไมโครไฟเบอร์ติดกับผนังเดิม แผ่นไมโครไฟเบอร์จะช่วยดูดซับเสียงและความร้อนที่ผ่านผนังชั้นนอกเข้ามาทำ ให้อุณหภูมิภายในห้องนั้นลดลงเสียงรบกวนก็จะน้อยลงซึ่งจะประหยัดพลังงาน ไฟฟ้า ในส่วนเครื่องปรับอากาศเหมาะสำหรับห้อง HOME THEATER ห้องฟังเพลงหรือห้องนอน
การปูกระเบื้องโมเสคบนที่สูง
การ ปูกระเบื้องโมเสค โดยทั่วไปจะปูด้วยปูนผสม กับทราย หรือถ้าดีขึ้นมาอีกหน่อยก็จะปูด้วยซีเมนต์ขาว ซึ่ง จะมีคุณสมบัติแห้งช้า ทำให้มีเวลาจัดแต่งแนวกระเบื้องให้ เรียบร้อยสวยงามมากยิ่งขึ้นแต่ในกรณีที่จะต้องปูโมเสคบนที่สูง เช่น ผนังบ้าน หรือส่วนยอดของบ้าน ที่ดีที่สุดควรปูด้วยกาวชนิดพิเศษสำหรับ ปูโมเสคโดยเฉพาะ กาวชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการยึดเกาะสูง มาก เมื่อปูแล้วยากที่จะหลุดร่อนลงมา เพราะเมื่ออยู่บนที่สูง ถ้าหลุดลงมาอาจจะเป็นอันตรายมาก แต่การปูด้วยกาวควรจะ วางแผนการปู้ให้ดี เพราะถ้ากาวแห้งแล้วจะไม่สามารถแกะออก มาได้ หรือถ้าแกะออกได้ก็จะทำให้กระเบื้อง โมเสคเสียหาย
ปัญหา "วอลล์เปเปอร์" ขึ้นรา
มี สาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งอาจจะมาทางพื้น ฝ้า เพดาน หรือผนัง ซึ่งมีท่อฝังไว้เกิดการรั่วซึม หรือผนังที่ติด กับห้องน้ำที่มีความชื้นได้เช่นกัน
วิธี แก้ไข ก็คงต้องลอกส่วนที่ขึ้นราออก แล้วแก้ไข สาเหตุที่ทำให้เกิดความชื้นเสียก่อน เมื่อแก้เรียบร้อยแล้ว จึงเรียกช่างมาปิดวอลล์เปเปอร์ทับอีกทีหนึ่ง แต่ต้องเป็นลาย เดียวกัน
งานสี
สีน้ำพลาสติค
สีน้ำพลาสติคผลิตจากวัตถุดิบจำพวก "โพ ลีไวนิล อะซิเตท" สีน้ำพลาสติคที่ดีจะต้องผสมสารที่ป้องกันเชื้อรา หรือผงสีชนิดที่ทนทานต่อแสงแดดและการเช็ดล้าง สีชนิดนี้ ใช้ได้ดีกับผนังปูนฉาบคอนกรีต หรือกระเบื้องแผ่นเรียบ ใช้ ได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร มีสีต่างๆ ให้เลือกมากมาย และราคาค่อนข้างประหยัด
สีอะครีลิดกึ่งเงา
สีที่ใช้ทาภายนอกอาคารโดยทั่วไปจะใช้สีน้ำพลาสติค ชนิดอะครีลิค 100 % เพราะ เป็นสีที่ทนต่อทุกสภาพอากาศ แต่สีชนิดนี้จะมีผิวที่ด้าน ซึ่งเป็นสาเหตุของการจับยึดของฝุ่น ละอองและคราบสกปรกในอากาศ ถ้าหากต้องการหลีกเลี่ยง ความสกปรกดังกล่าวใช้สีอะครีลิคชนิดกึ่งเงาแทน เพราะสีชนิด นี้เนื้อสีจะลื่น ทำให้พื้นผิวเป็นฟิล์มเรียบลดการจัดยึดของฝุ่น ละอองและคราบสกปรกต่างๆ แต่เนื่องจากผิวเงาอาจเป็น สาเหตุของการเกิดลอนคลื่นบนผนังฉาบปูน เมื่อโดนแสงส่อง ฉะนั้นผิวปูนฉาบจะต้องเรียบสนิท สำหรับผนังภายในที่ต้องการ ความสะดวกในการทำความสะอาด เช่น ห้องครัว การใช้สีชนิด นี้ในการทาผนังและฝ้าเพดาน ก็จะช่วยลดปัญหาในการทำความ สะอาดได้
สีนูน
สี นูนจะประกอบจากอะครีลิคเรซินของซิลิกาและควอตซ์ ซึ่งทำให้พื้นผิวมีลวดลายและสวยงาม ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะ กับพื้นผิวได้ดี สำหรับผิวผนังที่มีรอยร้าวหรือฉาบปูนไม่เรียบ ก็ สามารถกลบเกลื่อนได้กรรมวิธี จะใช้การพ่นหรือลูกกลิ้งก็ได้ โดยทำบนผิว คอนกรีต แผ่นยิบซั่ม หรือกระเบื้องแผ่นเรียบก็ได้ และใช้ได้ทั้ง ภายนอกและภายใน
สีอีพ็อกซี่
สี อีพ็อกซี่เป็นสีสำหรับกันสนิมทนต่อกรดและด่างได้เป็นอย่างดีสามารถกันน้ำซึม ได้ทาได้หนาๆ โดยสีไม่ย้อย ทาง่าย แห้งเร็ว เหมาะสำหรับใช้ทาโลหะและคอนกรีต เช่น ทาเรือ ท่อน้ำประปา และกระเบื้องหลังคา
สีทาไม้
สำหรับไม้ที่ต้องการทาสี สีที่ใช้ควรเป็นสีน้ำมัน หรือ สีที่ใช้ทาไม้โดยเฉพาะ ถ้าเป็นสีอะครีลิค 100 % จะ ช่วยใน การยึดเกาะที่ดี และยืดหยุ่นไม่แตกร้าวเวลาไม้เกิดการยืดหดตัวสำหรับไม้ที่ต้องการโชว์ลายไม้ ส่วนใหญ่จะใช้แลคเกอร์ หรือเชอร์แลค แต่ทุกวันนี้เรามีสารที่เรียกว่า "โพลียูรีเทน" ซึ่ง ช่วยในการป้องกันเนื้อไม้ได้ดีกว่า ทั้งยังให้ความเงางามอีกด้วยสำหรับโครงไม้ต่างๆ ที่อยู่ด้านในไม่ต้องทาแลคเกอร์ หรือสีน้ำมัน แต่ต้องทาน้ำยากันปลวก
วิธีการทาสี
ใน กรณีที่เตรียมพื้นผิวที่จะทาไม่ดีพอ หรือผิวไม่เรียบ การใช้แปรงทาจะทำให้สีสัมผัสกับผิวผนังในซอกมุมต่างๆ ได้ ดีกว่าการใช้ลูกกลิ้ง แต่ในพื้นที่มากๆ การใช้ลูกกลิ้งจะสะดวกกว่า ทาได้ เร็วกว่า และยังใช้กับประเภทสีที่มีลวดลายต่างๆ ที่สวยงามได้ เช่น สีนูน แต่จะใช้ปริมาณของสีมากกว่าการใช้แปรงเล็กน้อย
ปัญหาสีลอก
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมผิวไว้ไม่ดี เช่น
1. ไม่ทิ้งผนังไว้ให้แห้งสนิทพอ
2. มีฝุ่นเกาะมาก ไม่ทำความสะอาดให้ดีพอ ต้อง ขัดและล้างน้ำให้สะอาด
3. ผนัง มีสภาพเป็นกรด เป็นด่าง สำหรับผนังพื้น ผิวใหม่ จะมีสภาพเป็นกรด ก่อนทาสีจะต้องรองพื้นด้วยสี รองพื้นปูนกันด่าง ซึ่งทำมาจากอะครีลิคเรซิน
4. ทาสีไม่ครบจำนวนครั้งที่บริษัทสีระบุสำหรับพื้นผิวเก่าที่ขึ้นรา ต้องขัดล้างด้วยน้ำยาฆ่า เชื้อรา แล้วใช้น้ำล้างให้สะอาดก่อนทา
ปัญหาสีผนังส่วนที่ติดพื้นดินหลุด
เกิด จากความชื้นใต้ดินที่ซึมผ่านขึ้นมาที่ผนัง มีวิธี ป้องกันต้องทำ ก่อนที่จะเทพื้น โดยปูแผ่นพลาสติคบนพื้นที่ ปรับระดับ แล้วจึงวางเหล็ก เทพื้นคอนกรีตที่ผสมน้ำยากันซึม และก่อนการปูวัสดุปูผิวต้องผสมน้ำยากันซึมในส่วนปูนทราย ที่ใช้สำหรับปรับผิว อีกวิธีหนึ่ง คือ การยกพื้นชั้นล่างให้สูงขึ้น ก็จะช่วย เรื่องความชื้นได้ สำหรับอาคารที่สร้างมาแล้ว วิธีแก้ไขคงทำ ได้ยาก แต่ก็มีวิธีที่พอจะบรรเทาได้ โดยทำผนังส่วนที่ติดดิน เป็นผิวปูนขัดมันสูงขึ้นมา 10 - 15 ซม. แล้วค่อยเริ่มทาสี โดยใช้สีในส่วนที่ฐานผนัง เป็นสีชนิดกันเชื้อรา
งานหน้าต่างและประตู
ประเภทของหน้าต่าง หน้าต่างที่เรารู้จักกันก็มี
• บานเปิด เมื่อเปิดแล้วจะได้ช่องหน้าต่างเต็มที่ แต่ กินพื้นที่ด้านนอกบ้าน
• บานเลื่อน เมื่อเปิดแล้วจะได้ช่องหน้าต่างเพียงครึ่ง เดียว แต่ไม่กินพื้นที่ด้านนอก แต่ฝนสาดได้
• บานกระทุ้ง การรับลมอาจได้ไม่เต็มที่ แต่เมื่อเปิด แล้วตัวบานจะทำหน้าที่เป็นกันสาดในตัว
• บานพลิก เมื่อเปิดแล้วจะได้ช่องเปิดเต็มที่ สามารถ ทำความสะอาดได้สะดวก แต่กินพื้นที่ทั้งข้างในและข้างนอก
หน้าต่างบานเกล็ด
การทำหน้าต่างบานเกล็ดควรคำนึงถึง
1. ไม่ ควรทำช่องหน้าต่างมีขนาดกว้างมาก ไม่ว่าบานเกล็ด จะทำด้วยวัสดุชนิดใดก็ตาม ไม้ อลูมิเนียม หรือกระจก เพราะจะ แอนตัว บิดงอ และแตกง่าย แต่ถ้าจะใช้วัสดุให้มีขนาดหนาขึ้น ก็ ทำให้มีน้ำหนักมาก อุปกรณ์ที่ใช้เปิดปิดจะทำงานหนักและเสียเร็ว
2. หน้าต่าง บานเกล็ดกันฝนไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีบังใบ ถ้าฝนสาดแรงๆ น้ำฝนจะตีย้อนเข้ามาภายในบ้านได้ วิธีแก้โดย ให้มีรอยซ้อนกันของเกล็ดให้มากๆ
3. หน้าต่าง บานเกล็ดเสี่ยงภัยต่อขโมยเข้าบ้านมาก เพราะ เพียงแค่ง้างอลูมิเนียมที่ยึดติดบานเกล็ดออก ก็สามารถดึงบาน ออกมาได้ ถ้ามีความจำเป็ต้องติดจริงๆ ก็สมควรต้องติดเหล็ก ดัดกันขโมยด้วย
ประตูไม้อัด
ข้อดี คือ ราคาถูก น้ำหนักเบา มีขนาดมาตรฐาน มากมาย ควรใช้เฉพาะภายในบ้าน
ข้อเสีย คือ ไม่ค่อยแข็งแรง ไม่สามารถใช้ในส่วนที่ โดนน้ำได้ โดยเฉพาะในห้องน้ำ หรือส่วนที่เปิดออกไปภาย นอก ซึ่งจะโดนฝนตลอด
ประตูไม้จริง
ข้อดีคือ มีความทนทาน แข็งแรง สวยงาม โดย เฉพาะไม้สัก และไม้มะค่า สามารถใช้กับประตูที่เปิดออก สู่ภายนอกซึ่งโดนฝนได้
ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างแพง มีน้ำหนักมากกว่า มีขนาดให้เลือกไม่มากนัก ถ้าต้องการแบบเฉพาะอาจต้อง สั่งทำ
ประเภทของประตูไม้อัด
ประตูไม้อัดที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรก คือ ประตูไม้อัดธรรมดา ใช้กับประตูห้องทั่วไป ชนิดที่สอง คือ ประตูไม้อัดทนความชื้น ซึ่งจะใช้กับส่วนที่โดนน้ำเป็นบางครั้ง เช่น ห้องน้ำส่วนที่แห้ง ประตูที่เปิดออกสู่ภายนอกบ้านที่โดนฝนไม่มาก แต่ถ้าโดนน้ำ ทุกๆ วัน ก็จะผุได้
ประตูไม้สังเคราะห์
ปัจจุบัน ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างที่หายาก ราคาแพง จึง ได้มีการผลิตประตูไม้สังเคราะห์ขึ้นมา โดยนำเอาเศษไม้ที่ เหลือใช้มาบดย่อยให้เป็นเส้นใยไม้ แล้วนำมาผสมกับเรซิน อัดประสานกันเป็นแผ่นภายใต้แรงดันสูง ทำให้โครงสร้าง ของเนื้อไม้แน่นและแข็งแรงกว่าไม้จริง เนื้อไม้มีคุณสมบัติ ทนทาน ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่หลุดล่อน ไม่หดตัว หรือบิดงอ ใช้ได้กับวงกบไม้ทั่วไป มีความสะดวกในการติดตั้ง เจาะ ลูกบิด กลอนประตู มือจับ โช๊คอัพ ได้เหมือนกับประตู ทั่วไป ทั้งยังผ่านการเคลือบสีรองพื้นชนิดพิเศษ ทำให้ง่าย ต่อการย้อมสีตามต้องการ
ประตูเหล็ก ประตูที่ใช้กันทั่วไปโดยมากจะเป็นบานประตูไม้ ซึ่ง จะมีปัญหา การยืดหดตัว ผุกร่อน ไม่ทนทานเท่าที่ควร ทาง เลือกใหม่ก็คือ การเปลี่ยนมาใช้บานประตูเหล็ก ซึ่งผลิตจาก เหล็กคุณภาพดี ผ่านการอบพ่นสีหลายชั้น ทั้งสีรองพื้นและสี เคลือบผิว จึงมีความสวยงามงามทนทาน โครงประตูภายใน มีทั้งชนิดโครงไม้และโครงเหล็กชุบสังกะสี ทำให้ประตูมีน้ำ หนักเบาเวลาเปิด-ปิด สามารถทำได้สะดวก สำหรับอุปกรณ์บานพับ กลอน ลูกบิด มือจับ ได้ กำหนดตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ไว้แล้ว จึงไม่มีปัญหาในการติด ตั้งอุปกรณ์ทั่วไปตามท้องตลาด เหมาะสำหรับประตูที่ต้องเปิด -ปิดบ่อยๆ และมีการกระทบกระแทกอยู่ตลอดเวลา
ประตูห้องน้ำ
สำหรับ ห้องน้ำที่ใหญ่ ประตูไม่โดนน้ำ ก็ใช้ประตู ไม้ อัดชนิดทนชื้นก็พอแล้ว ส่วนห้องน้ำที่เล็ก เวลาอาบน้ำ น้ำจะโดนประตู ก็ควร ใช้ประตูและวงกบที่เป็น PVC. ซึ่ง ราคาสูงกว่าประตูไม้อัดทน ชื้น แต่คุ้มค่ากว่า ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ สำหรับห้องน้ำที่ติดกับห้องแอร์ ควรใช้แบบมีเกล็ด เพื่อสามารถติดพัดลมดูดอากาศได้ ซึ่งจะทำให้ลมเย็นผ่านเข้า มาในห้องน้ำได้อีกด้วย
วงกบ PVC.
วงกบ PVC. ผลิตจากเนื้อ PVC. ที่ มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่บิดงอ เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โครงสร้างภายในจะมีเหล็กเสริม ติดตั้งได้ทั้งผนังไม้ ปูน และโลหะ การเข้ามุมต่างๆ จะใช้ความร้อน สามารถทำให้ประสานกันได้สนิท สวยงาม มีขนาดมาตรฐาน และขนาดตามสั่ง
ชนิดของบานพับ
บาน พับแต่ละชนิดแต่ละแบบมีความคงทนแตกต่างกัน บานพับที่มีแหวนเป็นไนล่อน จะทนทานน้อยที่สุด เพราะมีราคา ถูก ส่วนบานพับที่มีแหวนเป็นโลหะ ซึ่งมีทั้งแสตนเลส ทอง เหลือง หรือเหล็ก จะแพงกว่าบานพับที่เป็นแหวนไนล่อน บาน พับแต่ละแบบก็มีสีของวัสดุแตกต่างกัน การจะเลือกใช้สีแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับสีของประตู ลูกบิด และรสนิยมของแต่ละคน การติด บานพับควรติดอย่างน้อย 3 ตัวต่อ 1 บาน เพื่อป้องกันบาน ประตูตกด้วย
การเลือกลูกบิดประตู
การเลือกใช้ลูกบิดจะแตกต่างกันตามความเหมาะสม ในการใช้งาน เช่น ห้องสำหรับเปิดผ่านก็ไม่จำเป็นต้องล็อค เรียกว่า PASSAGE DOORS ใช้ในบริเวณห้องที่ต่อเนื่องกัน เช่น ห้องทำงานกับห้องประชุมหรือห้องครัวกับห้อง PANTRY ส่วนห้องน้ำกับห้องนอนจะใช้ลูกบิดชนิด PRIVACY DOORS คือ ชนิดกดล็อคด้านใน ส่วนด้านนอกใช้เหรียญบิด เปิด-ปิด เพื่อคลายล็อคในกรณีฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัย สำหรับผู้ที่ อยู่ภายในห้อง อีกชนิดหนึ่งก็คือ ENTRANCE DOORS ลูกบิด ชนิดนี้ใช้กับประตูทั่วไปหรือประตูทางเข้า โดยการกด ล็อคด้านใน ไขกุญแจด้านนอก จะเข้าจากภายนอกต้องไข กุญแจเท่านั้น ส่วนภายในสามารถเปิด-ปิดได้ตลอดเวลา
ปุ่มกันกระแทกประตู
บาน ประตูโดยทั่วไปจะถูกออกแบบให้เปิดพิงฝาผนัง เพื่อไม่ให้กีดขวางพื้นที่ใช้สอย ดังนั้นการเปิด-ปิดประตูควรจะ มีการป้องกันไม่ให้กระแทกกับผนัง ซึ่งจะทำให้ลูกบิด มือจับ และผนังด้านข้างถูกกระแทก เกิดการเสียหายได้ ถ้าเป็นผนัง เบา เช่น ผนังไม้อัด หรือแผ่นยิบซั่มบอร์ดจะถูกกระแทกเป็น รอยลึก ทางแก้ก็คือ ให้ติดตั้งอุปกรณ์กันกระแทกทุกครั้ง ซึ่ง มีทั้งชนิดปุ่มยางติดกับพื้น หรือชนิดก้ามปูติดกับผนัง หรือถ้ามี งบประมาณพอ ก็ควรติดแบบตั้งค้ำประตู (DOOR CLOSER) ซึ่งจะช่วยบังคับการเปิด-ปิดได้เอง ทำให้สะดวกมากขึ้น
เสาเอ็นทับหลังประตู-หน้าต่าง
เสา เอ็นทับหลัง คือ เสาและคานเล็กๆ ที่รัดรอบขอบ วงกบประตู หน้าต่าง ทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักผนังก่ออิฐ ดังนั้น เสาเอ็นทับหลังจะต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ถ้าไม่มีเสาเอ็น ทับหลัง วงกบจะแอ่นตัวทำให้การเปิดปิดประตูยากขึ้น และยัง ช่วยป้องกันการยืดหดตัวที่ต่างกันของวงกบไม้กับผนังก่ออิฐ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกร้าวได้ ท่านเจ้าของบ้านควร ตรวจดูให้แน่ใจว่า วงกบประตูหน้าต่างทุกบานต้องมีเสาเอ็น ทับหลัง เพราะเมื่อช่างฉาบปูนแล้วจะไม่เห็นส่วนนี้
การหล่อเสาเอ็นทับหลัง
วิธี การทำ คือ ต้องตั้งวงกบก่อน แล้วจึงก่อกำแพงอิฐ เข้ามาหา โดยเว้นช่องให้ได้ขนาดเท่ากับเสาเอ็น แล้วปิดด้วย ไม้แบบ ใส่เหล็กเสริม แล้วจึงเทคอนกรีต วิธีการนี้จะทำให้เสา เอ็นและทับหลังยึดติดกับตัวผนังก่ออิฐได้อย่างสนิท ไม่เกิดร่อง หรือรอยร้าว ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้น้ำรั่วซึมได้
การติดตั้งวงกบอลูมิเนียม
เมื่อวางวงกบอลูมิเนียมบนผนัง จะต้องเว้นช่องว่างไว้ ประมาณ 0.5 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่พอที่ซิลิโคนจะเข้าไปอุดรอย ต่อระหว่างอลูมิเนียมกับขอบปูน เพื่อป้องกันการรั่วซึมจากน้ำ ฝน เพราะถ้าติดตั้งโดยไม่เว้นช่องว่างไว้ เนื้อซิลิโคนก็จะไม่ สามารถแทรกตัวเข้าไปในรอยต่อ ผลที่ตามมาก็คือ น้ำฝนก็จะ รั่วซึมเข้ามาภายในบ้าน มีวิธีแก้ไขก็คือ รื้อออกแล้วติดตั้งใหม่ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
ซิลิโคน
ซิลิโคนเป็นวัสดุคล้ายเยลลี่ มีความยืดหยุ่น เหนียว ทนต่อแรงดึงได้ดี และกันการรั่วซึมได้ แบ่งออกตามการใช้งาน ได้ 4 ชนิด คือ
ชนิดที่หนึ่ง ใช้เชื่อมกระจกกับกระจก ในกรณีที่เป็น ผนังกระจกไม่มีกรอบ ก็จะใช้แผ่นกระจกชนกัน แล้วอุดด้วย ซิลิโคน ชนิดนี้จะมีความแข็งแรงสูง มีสีใสมองทะลุกระจกได้
ชนิดที่สอง ใช้เชื่อมกระจกกับวัสดุอื่น เช่น กรอบบาน อลูมิเนียม หรือผนังปูนที่แผ่นกระจกไปชน เพื่อป้องกันการ รั่วซึม
ชนิดที่สาม ใช้สำหรับเชื่อมรอยต่อวัสดุที่มีการเคลื่อน ตัวสูง เช่น รอยต่ออาคารหรือรอยต่อของวัสดุที่ต่างชนิดกัน มี การการยืดหดตัวสูง และไม่เท่ากัน เช่น คสล.กับเหล็ก ชนิด นี้ต้องรับน้ำหนักและแรงดึงที่สูง
ชนิดที่สี่ ใช้อุดรอยต่อของแผ่นแกรนิตหรือหินอ่อน ชนิดนี้ต้องไม่มีฤทธิ์เป็นกรด (เพราะหินแกรนิตและหินอ่อนมี ความเป็นด่าง)
ข้าแนะนำในการออกแบบอาคารประเภท อยู่อาศัยรวม
(แฟลต อพาร์ทเม้นท์และคอนโดมิเนียม) ข้อ แนะนำนี้กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นเพื่อให้ความสะดวกกับเจ้าของอาคารหรือผู้ออก แบบได้มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายควบคุมอาคารที่จะต้องใช้ในการออกแบบจะได้ ไม่เกิดความผิดพลาด ทำให้เสียเวลาในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ซึ่งมีข้อแนะนำหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินที่จะใช้ก่อสร้าง
1.1ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณที่จะก่อสร้างว่าขัดผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครตามกฎกระทรวงฉบับที่ 414
(พ.ศ. 2542) หรือไม่
1.2 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎกระทรวง , เทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติ กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือ
เปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทหรือไม่ และอาคารที่ท่านจะก่อสร้าง มีข้อห้ามหรือหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
1.3 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎหมายของหน่วยราชการอื่นที่ห้ามก่อสร้างหรือ มีข้อกำหนดในการก่อสร้างอาคารนอก
เหนือจากพ.ร.บ.ควบคุมอาคารหรือไม่เช่นบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหาร,บริเวณ เขตปลอดภัยในการเดินอากาศ , ข้อกำหนดเงื่อน
ไขในการปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง ฯลฯ
สอบถามข้อมูลได้ที่ กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม 2 หรือสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร หรือสำนักงาน
เขตพื้นที่
2. แนวร่นของอาคาร
2.1 อาคารพักอาศัยมิใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องปฏิบัติดังนี้
2.1.1 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า6เมตรต้องร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะ
อย่างน้อย 3 เมตร
2.1.2 อาคารที่สูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร ที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะ
(1) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า10เมตรให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะอย่าง
น้อย 6 เมตร
(2) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่10เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน20เมตรให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนน
สาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
(3) ถ้าถนนสาธารณะนั้น มีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่าง
น้อย 2 เมตร
2.2 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องปฏิบัติดังนี้
2.2.1 ต้องร่นแนวผนังห่างเขตที่ดินผู้อื่น และห่างถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร
2.2.2 ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า12เมตรติดถนนสาธารณะมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า10เมตรยาว
ต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และหากอาคารมีพื้นที่อาคารเกินกว่า 30,000
เมตรที่ดินต้องอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า18เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทาง
กว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร
2.2.3 อัตราส่วนพื้นที่อาคารทุกชั้นรวมกันต่อพื้นที่ดิน (FAR) ต้องไม่เกิน 10 : 1
2.3 ต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ดิน
2.4 หลักเกณฑ์ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด
หรือบางประเภทในบริเวณดังกล่าว (ถ้ามี)
2.5 กฎกระทรวงฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2542)
2.5.1.อาคารที่ก่อสร้างริมถนนสายหลักตามบัญชีรายชื่อถนนตามข้อ8ของกฎกระทรวงฯต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตทาง
ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.5.2. อาคารที่ก่อสร้างริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งแม่น้ำไม่น้อยกว่า 3 เมตร
2.5.3อาคารที่ก่อสร้างริมฝั่งคลองตามบัญชีรายชื่อคลองตามข้อ10ของกฎกระทรวงฯต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งคลอง
ไม่น้อยกว่า 6 เมตร หากอาคารที่ก่อสร้างไม่อยู่ริมฝั่งคลองในบัญชีรายชื่อดังกล่าวต้องมีที่ ว่างตามแนวขนานริมฝั่งคลองไม่น้อยกว่า 3 เมตร
2.6 อาคารที่ก่อสร้างใกล้แหล่งน้ำสาธารณะเช่นแม่น้ำ คู คลอง ลำรางหรือลำกระโดงถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า
10เมตรต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า3เมตรถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างตั้งแต่10เมตรขึ้นไปต้องร่นแนว
อาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ถ้าอาคารใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้อง
ร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543 ข้อ 42)
3. ความสูง
3.1 ความสูงของอาคาร
3.1.1 ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบโดยวัด จากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนว
เขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด
3.1.2 อาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันขนาบอยู่เมื่อระยะระหว่างถนนสาธารณะสอง
สายนั้นไม่เกิน 60 เมตร และส่วนกว้างของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่กว้างกว่าไม่เกิน 60 เมตร ความสูงของอาคาร ณ จุดใดต้องไม่เกิน
สองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า
3.1.3 อาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันความสูงของอาคาร ณ จุดใดต้องไม่เกิน
สองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่าและความยาวของอาคารตาม
แนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน 60 เมตร
3.2 ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงพื้นต้องไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร
4. จำนวนที่จอดรถยนต์ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)
กรณีห้องพักมีพื้นที่แต่ละหน่วยตั้งแต่60ตารางเมตรขึ้นไปให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คัน ต่อ 1 หน่วย
5. ระบบบำบัดน้ำเสีย
ต้องมีคุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งของกฎกระทรวงฉบับที่51(พ.ศ.2540)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522
6. ระบบป้องกันอัคคีภัย
6.1 กรณีอาคารที่ก่อสร้างไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกัน
อัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่39(พ.ศ.2537)กฎกระทรวงฉบับที่47(พ.ศ.2540)และกฎ กระทรวงฉบับที่55(พ.ศ.2543)และประกาศกรุงเทพ
มหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
6.2 กรณีอาคารที่ก่อสร้างเข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้ง บันไดหนีไฟและระบบเกี่ยวกับการป้องกันอัคคี
ภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่33(พ.ศ.2535)กฎกระทรวงฉบับที่50(พ.ศ.2540)และประกาศ กรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของ
บันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
7. กฎหมายของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
อาคารที่มีจำนวนห้องพักอาศัยตั้งแต่80ห้องขึ้นไปต้องจัดทำรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและต้องได้รับความเห็นชอบ
จากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯก่อนจึงจะมายื่นขออนุญาตต่อกรุงเทพมหานครได้
8. การยื่นขออนุญาต
8.1 กรณีอาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้นและสูงไม่เกิน15เมตรให้ยื่นขออนุญาตที่สำนักงานเขตท้องที่่
8.2 กรณีอาคารสูงเกิน 4 ชั้นขึ้นไปให้ยื่นขออนุญาตที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม.2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง โทร. 247 - 0077
หากท่านมีปัญหาไม่เข้าใจในข้อแนะนำท่านสามารถปรึกษาข้อปัญหาได้ที่
1) “ศูนย์บริการให้คำปรึกษาก่อนการขออนุญาต” กองควบคุมอาคาร ชั้น 6 ตึกสำนักการโยธา กทม.2
เบอร์โทรศัพท์ 247-0106
2) ฝ่ายควบคุมอาคาร 1, 2, 3 กองควบคุมอาคาร ชั้น 5 ตึกสำนักการโยธา กทม.2 เบอร์โทรศัพท์ 247-0076, 247-0104 , 247-0105
3) ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร ชั้น 5 ตึกสำนักการโยธา กทม.2 เบอร์โทรศัพท์ 246-0331
4) ฝ่ายโยธาเขตพื้นที่
ข้อแนะนำในการออกแบบอาคารประเภท โรงงาน
ข้อแนะนำนี้กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นเพื่อให้ความสะดวกกับเจ้าของอาคารหรือผู้ ออกแบบได้มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายควบคุม
อาคารที่จะต้องใช้ในการออกแบบจะได้ไม่เกิดความผิดพลาด ทำให้เสียเวลาในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ซึ่งมีข้อแนะนำหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินที่จะใช้ก่อสร้าง
1.1 ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณที่จะก่อสร้างว่าขัดผังเมืองรวมของ กรุงเทพมหานครตามกฎกระทรวงฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2542) หรือไม่
1..2 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎกระทรวง , เทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติ กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทหรือไม่ และอาคารที่ท่านจะก่อสร้าง มีข้อห้ามหรือหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
1.3 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎหมายของหน่วยราชการอื่นที่ห้ามก่อสร้างหรือ มีข้อกำหนดในการก่อสร้างอาคารนอกเหนือจาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร หรือไม่เช่นบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหาร , บริเวณเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ , ข้อกำหนดเงื่อนไขในการปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง ฯลฯ
สอบถามข้อมูลได้ที่ กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม . 2 หรือสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานเขตพื้นที่
2. แนวร่นของอาคาร
2.1 มิใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องร่นแนวอาคารห่างเขตถนนสาธารณะดังนี้
2.1.1 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร
2.1.2 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่10เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 20เมตรต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนนสาธารณะนั้น
2.1.3 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างเกินกว่า 20 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
2.1.4 อาคารที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้น รวมกันตั้งแต่ 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารไม่น้อยกว่า 3 เมตร จำนวน สองด้าน โดยผนังอาคารทั้งสองด้านนี้ให้ทำเป็นผนังทึบด้วยอิฐ หรือคอนกรีตยกเว้นประตูหนีไฟ ส่วนด้านที่เหลือให้มีที่ว่างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
2.1.5 อาคารที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกัน ตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตรต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตรทุกด้าน
2.1.6 อาคารที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 1,000 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน
2.2 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องปฏิบัติดังนี้
2.2.1ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้าง ไม่น้อยกว่า 10 เมตร และหากอาคารมีพื้นที่2.2.2อาคารเกินกว่า 30,000 เมตร ที่ดินต้องอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอด จนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร
2.2.2 อัตราส่วนพื้นที่อาคารทุกชั้นรวมกันต่อพื้นที่ดิน (FAR) ต้องไม่เกิน 10 : 1
2.3 ต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ดิน
2.4 ตามหลักเกณฑ์ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภทในบริเวณดังกล่าว (ถ้ามี)
2.5 อาคารที่ก่อสร้างใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ลำราง หรือลำกระโดง ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 เมตร ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไปต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ถ้าอาคารใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543 ข้อ 42)
3. ความสูง
3.1 ความสูงของอาคาร
3.1.1 ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ โดย วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคาร นั้นที่สุด
3.1.2 อาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันขนาบอยู่ เมื่อระยะระหว่างถนนสาธารณะสองสายนั้นไม่เกิน 60 เมตรและส่วนกว้างของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่กว้างกว่าไม่เกิน 60 เมตรความสูงของอาคารณจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุด จากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า
3.1.3 อาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันความสูง ของอาคารณจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้ง ฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่าและความยาวของอาคาร ตามแนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน60 เมตร
3.2 ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงพื้นต้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร
4. จำนวนที่จอดรถยนต์ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)
กรณีอาคารมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปและมีพื้นที่อาคารรวมเกิน 1,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่อาคารรวมทุกชั้นเกิน 2,000 ตารางเมตร ให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 120 ตารางเมตรเศษของ 120 ตารางเมตรให้คิดเป็น 120 ตารางเมตร
5. ระบบบำบัดน้ำเสีย
ต้องมีคุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งของกฎกระทรวงฉบับที่ 51 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
6. ระบบป้องกันอัคคีภัย
6.1 กรณีอาคารที่ก่อสร้างไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติด ตั้ง บันไดหนีไฟและอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับ ที่39 (พ.ศ.2537) กฎกระทรวงฉบับที่47(พ.ศ.2540)และกฎกระทรวงฉบับที่55(พ.ศ.2543)และประกาศ กรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของ อาคาร พ.ศ. 2531
6.2 กรณีอาคารที่ก่อสร้างเข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติด ตั้ง บันไดหนีไฟและระบบเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่33(พ. ศ.2535)กฎกระทรวงฉบับที่50(พ.ศ.2540) และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทาง อากาศของอาคารพ.ศ. 2531
7. กฎหมายของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 และระเบียบกฎเกณฑ์ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมถือปฏิบัติ
8. การยื่นขออนุญาต
- ให้ยื่นขออนุญาตที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม.2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง โทร. 247 - 0077
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หากท่านมีปัญหาไม่เข้าใจในข้อแนะนำท่านสามารถปรึกษาข้อปัญหาได้ที่
1) “ศูนย์บริการให้คำปรึกษาก่อนการขออนุญาต” กองควบคุมอาคาร ชั้น 6 ตึกสำนักการโยธา กทม.2
เบอร์โทรศัพท์ 247-0106
2) ฝ่ายควบคุมอาคาร 1, 2, 3 กองควบคุมอาคาร ชั้น 5 ตึกสำนักการโยธา กทม.2
เบอร์โทรศัพท์ 02- 247-0076, 02 - 247-0104 , 02 - 247-0105
3) ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร ชั้น 5 ตึกสำนักการโยธา กทม.2
เบอร์โทรศัพท์ 02 - 246-0331
4) ฝ่ายโยธาเขตพื้นที่
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสร้างอพาร์ทเม้นท์
1.ทำเลแลสถานที่ตั้ง พร้อมตรวจดูฮวงจุ้ย ที่ดีและเหมาะสม
2. คู่แข่งในแต่ละสถานที่ที่จะสร้างและกลุ่มลูกค้า
3.เรื่องกำหนดเงินลงทุน เมื่อคุณรู้เรื่องฐานราคาค่าเช่าและ กลุ่มลูกค้าแล้วก็นำมากำหนดเงินที่ลง ทุน ทั้งเรื่องที่ค่าก่อสร้าง, ค่าตกแต่งภายในต่างๆ ให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า นั่นคือจะทำให้คุณไม่ลงทุนมากไป หรือน้อยไปกับฐานรายได้เรื่องแหล่งเงินทุนนี้อาจแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เงินทุนส่วนตัวและเงินทุนจากสถาบันการเงินแต่คุณไม่สามารถใช้แหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียวเพราะสถาบันการเงินจะให้เงินทุนกับคุณอยู่ที่ประมาณ 75-80 เปอร์เซนต์เท่านั้นนั้นก็หมายถึงว่าถ้า คุณเอาเงินแบ๊งค์มามากเท่าไหร่ คุณก็เหนื่อยมากขึ้นเท่านั้น และถ้าคุณจะคิดรีไฟเน้นซ์จากที่ดินปล่าวติดจำนองแล้วนำมาทำอพาร์ทเม้นต์โดยไม่มีเงินทุนส่วนตัว ไม่สามารถทำได้
4.พ.ร.บ. เกี่ยวกับการปลูกสร้างอพาร์ทเม้นท์
ผังสีที่ดินประเภทต่างๆ
1. ก่อนซื้ออาคาร ควรตรวจสอบ ดังนี้
1.1 อาคารสร้างไปโดยมีใบอนุญาตหรือไม่
1.2 อาคารสร้างผิดแบบหรือผิดเงื่อนไขการอนุญาตหรือไม่
1.3 อาคารที่ได้รับอนุญาตมีการใช้สอยตามแบบตรงกับวัตถุประสงค์ที่ท่านจะซื้อไปใช้สอยหรือไม่
1.4 อาคารนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินคดีหรือไม่
การตรวจสอบสามารถสอบถามจากสำนักงานเขตท้องที่ หรือ กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร หรือให้ผู้ขายขอใบรับรองการก่อสร้างอาคารจากกองควบคุมอาคาร
2. ก่อนซื้อที่ดินหรือออกแบบก่อสร้างอาคาร ท่านควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
2.1 ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองว่าที่ดินหรืออาคารที่ก่อสร้าง
สามรถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งกฎหมายผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครแบ่งการใช้ที่ดินออกเป็น 13 ประเภท คือ
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)
3. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล)
4. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง)
5. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง)
6. ที่ดินประเภทคลังสินค้า (สีเม็ดมะปราง)
7. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน)
8. ที่ดินประเภทชนบทและอุตสาหกรรม (สีเขียว)
9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)
10. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวมีครอบและเส้นทะแทงเขียว)
11. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)
12. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)
13. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)
แต่ละประเภทการใช้ที่ดินมีข้อกำหนดการใช้ต่างกันควรต้องศึกษารายละเอียดก่อนการตัดสินใจซื้อทีดิน
2.2 ตรวจสอบแนวโครงการเวนคืนที่ดินกับหน่วยงานราชการ เช่น กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง กรมโยธาธิการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย องค์การรถไฟฟ้ามหานคร แผนผังคมนาคมตามกฎหมายผังเมือง เป็นต้น
2.3 ตรวจสอบที่ดินของท่านว่าอยู่ในบริเวณที่มีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ห้ามก่อสร้างอาคารบางประเภท ตามกฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายอื่น เช่น
- บริเวณเขตปลอดภัยทางอากาศของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
- บริเวณเขตปลอดภัยในการเดินอากาศของ กรมการบินพาณิชย์ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเภทไทย จำกัด
- บริเวณแนวไมโครเวฟ ของกรมสื่อสารทหารเรือ กองทัพเรือ
- บริเวณเขตปลอดภัยทางการทหาร กองวิทยาการ กรมช่างโยธาทหารอากาศ กองทัพอากาศ
- บริเวณเขตปลอดภัยในราชการ ของกองทัพเรือ
- บริเวณแนวเขตเดินสายไฟของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งชาติ พ.ศ.2535
2.4 ตรวจสอบพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่
2.5 ตรวจสอบศึกษากฎหมายควบคุมอาคารในเรื่องการกำหนดแนวอาคารตามประเภทการใช้สอยต่าง ๆ เช่น
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครกำหนดแนวอาคารแต่ละประเภทการใช้สอยแตกต่างกันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ประเภท 1 ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสาธารณะ อาคารต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะดังนี้
1. ถนนสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร
2. ถนน สาธารณะมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ะไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
3. ถนน สาธารณะมีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อ 41)
สำหรับ ห้องแถว หรือ ตึกแถว ซึ่งด้านหน้าไม่ติดริมถนนสาธารณะ ต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ทั้งนี้ ห้องแถวงหรือตึกแถว ต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร โดยไม่ให้มีส่วนใดของอาคารล้ำเข้าไปในที่ว่างด้านหลัง เว้นแต่แนวบันไดหนีไฟภายนอกอาคาร ที่ยื่นล้ำได้ไม่เกิน 1.40 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อ 34)
ประเภท 2 อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่ น้อยกว่า 10 เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้าง ไม่น้อยกว่า 10 เมตร และหากอาคารมีพื้นที่อาคารเกินกว่า 30,000 เมตร ที่ดินต้องอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอด จนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธาณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร
ประเภท 3 อาคารพักอาศัย รั้ว เขื่อน ป้าย อาคารอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อ 41)
นอกจากนี้ อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คูคลอง ลำรางหรือลำกระโดง ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 เมตร ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 เมตร ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ถ้าอาคารใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อ 42)
3. ก่อนลงมือก่อสร้างอาคาร
“อาคาร” ที่ต้องขออนุญาตก่อสร้างตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ได้แก่ ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอย่างหรือเข้าใช้สอยได้ และยังรวมถึง
1. อัฒจันทร์หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น เพื่อใช้เป็นที่ชุนนุมของประชาชน
2. เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือ รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะหรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคล ทั่วไปใช้สอย
3. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย
4. พื้นที่และสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถสำหรับอาคาร
ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงส่วนต่าง ๆ ของอาคารด้วย
3.1 ประเภทของอาคารที่จะขออนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานได้แบ่งอำนาจการขออนุญาตอาคารประเภทต่าง ๆ ดังนี้
3.1.1 ประเภทอาคารที่ขออนุญาตที่สำนักงานเขต
อาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้น เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัย ตึกแถว หอพัก อาคารแถวอยู่อาศัย อาคารชุดสำนักงาน อาคารอยู่อาศัยรวม ห้องแสดงสินค้าและอาคารพาณิชย์ ห้องแถวสูงไม่เกิน 2 ชั้น อาคารเลี้ยงสัตว์ อาคารชั่วคราว สะพาน หอถังเก็บน้ำ รั้ว เขื่อน ป้าย แผงลอย คลังสินค้าที่มีช่วงเสาไม่เกิน 10 เมตร และถนน ยกเว้นอาคารพิเศษ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (โรงมหรสพ อัฒจันทร์ หอประชุม หอสมุด หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถาน ศาสนสถาน อู่เรือ คานเรือ ท่าจอดเรือ อาคารเก็บวัสดุไวไฟ วัสดุระเบิดหรือวัสดุกระจายแพร่พิษหรือรังสี อาคารหรือสิ่งสร้างขึ้นสูงเกิน 15 เมตร สะพานหรืออาคาร หรือโครงหลังคาช่วงหนึ่งเกิน 10 เมตร) ให้ยื่นขออนุญาตที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
3.1.2 ประเภทอาคารที่ขออนุญาตที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร อาคารที่มีความสูงเกิน 4 ชั้น และอาคารอื่นใดที่นอกเหนืออำนาจของสำนักงานเขต
3.2 วิธีการขออนุญาตก่อสร้างสามารถดำเนิน โดย 2 วิธี คือ
(1) การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตร 21
(2) การแจ้งความประสงค์ก่อสร้างอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามาตรา 39 ทวิ
ในการขออนุญาตก่อสร้างอาคารในอำนาจของสำนักงานเขตให้ผู้ประสงค์จะก่อสร้าง อาคาร ขออนุญาตที่สำนักงานเขตพื้นที่นั้น ๆ ส่วนอาคารที่นอกเหนืออำนาจของสำนักงานเขตให้ยื่นขอที่กองควบคุมอาคาร สำนักงานโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ถนน มิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 02-2460344
1. เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารรื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร (ตามมาตรา 21 ) มีดังนี้
2. แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1) หรือแบบคำขออนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ ข. 2)
3. สำเนา หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคลเป็นผู้ขอออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
4. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่ากับต้นฉบับ และเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
5. หนังสือ ยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
6. สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต , ผู้รับมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจแทนนิติบุคล และเจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
7. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิกวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน 1 ชุด
8. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
9. รายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน 1 ชุด
โรง งานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1 ชุด