หน้าแรก | เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก | ติดต่อโฆษณา | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา

จัดตั้งเป็นคณะบุคคล

วางแผนภาษี บุคคลธรรมดา คะบุคคล นิติบุคคล ระบบบัญชีสำหรับ หอพัก
ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีป้าย สิทธิ์เก็บกิน ทำบัญชี...

จัดตั้งเป็นคณะบุคคล

โพสต์โดย bigkid เมื่อ จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:39 am

รบกวนถามคำถามนะคะ ถ้าประกอบกิจการอพาร์ทเม้นท์ และจัดตั้งเป็นคณะบุคคล ในอพาร์ทเม้นท์ได้จัดเก็บ ค่าห้อง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และตู้น้ำหยอดเหรียญ เครื่องซักผ้า มีข้อสงสัยดังนี้ค่ะ
ถ้าจะต้องเสียภาษี
1. ค่าห้อง เป็นเงินได้ประเภท 5 หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 30% ถ้าเป็นแบบจ่ายจริง ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้องเท่านั้นหรือไม่ หรืออาจเป็นค่าใช้จ่ายอะไรก็ได้เกี่ยวกับอพาร์ทเม้นท์ที่จ่ายไป
2. ค่าอื่นๆทั้งหมด ถือเป็นเงินได้ประเภท 8 หักแบบเหมา 80%
ถ้าจะหักแบบจ่ายจริง ไม่สามารถนำเอาใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ-ค่าไฟของบ้านเลขที่อื่นใช้ได้หรือไม่คะ เพราะจริงๆแล้วเอาเงินรายได้ทั้งหมดในส่วนนี้ไปจ่ายค่านำ-ไฟของที่บ้านอื่นด้วย
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เราคงไม่เกี่ยวใช่ไหมค่ะ เพราะไม่ได้จดทะเบียน เวลาซื้ออะไรก็ไม่ได้ขอใบกำกับภาษีเขา และโดนผู้ขายเรียกเก็บภาษีซื้อเท่านั้น
ตอนนี้เป็นเทศกาลจ่ายภาษีด้วยนะค่ะ มีกรมสรรพากรมาดูอพาร์ทเม้นท์แถวๆบ้าน ไม่รู้เขาจะดูขนาดไหน ดูขนาดบัญชีเลยหรือไม่ เพราะที่บ้านจัดเก็บแบบบุคคลธรรมดา คงไม่มีการจัดทำบัญชีอะไรมากมาย รบกวนขอคำแนะนำด้วยนะค่ะ
bigkid
 
โพสต์: 42
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:07 am

Re: จัดตั้งเป็นคณะบุคคล

โพสต์โดย bigkid เมื่อ จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:40 am

1. ค่าเช่าห้อง ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 ( 5 ) กล่าวคือเป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata40

หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ ร้อยละ 30 ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจาก เงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5 ( 1 ) ( ก )
http://www.rd.go.th/publish/2375.0.html

ค่าใช้จ่ายตามจ่ายจริงจะต้องเป็นรายจ่ายเพื่อใช้ในการประกอบกิจการโดยเฉพาะเท่านั้น เช่น เงินเดือน , ค่าน้ำประปา , ค่าไฟฟ้า , ค่าโทรศัพท์ , ค่ารักษาความปลอดภัย และ ค่าซ่อมแซม เป็นต้น

2. ส่วนรายได้ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และตู้เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ มีลักษณะเป็นการให้บริการ จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 ( 8 )

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ

- หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนด
http://www.rd.go.th/publish/556.0.html

ซึ่งเมื่อมาดูตารางการหักเหมาแล้ว ก็จะไม่พบอัตราหักเหมาตามประเภทเงินได้จึงต้องมาดูใน (44) เงินได้ที่มิได้ระบุไว้ตั้งแต่ข้อ (1)-ข้อ (43)ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น
http://www.rd.go.th/publish/6052.0.html

ส่วนตู้น้ำหยอดเหรียญ คงต้องมาดูรายละเอียดสัญญาว่าเข้าข่าย (25) การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ก็จะสามารถหักเหมาได้ร้อยละ 80 แต่ถ้าเป็นบริการ ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น

ค่าน้ำ - ค่าไฟ ในแง่ของค่าใช้จ่ายผมเข้าใจว่า ทางคุณเอ๋ก็จะต้องมีการแยกมิเตอร์น้ำ - ไฟ เป็นแต่ละเลขที่บ้าน ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับการที่เรามีรายได้ แล้วนำเงินที่เราได้ไปจ่ายค่าน้ำ - ค่าไฟฟ้าให้กับบ้านอื่น เพราะการที่คุณเอ๋ จะนำค่าน้ำ - ค่าไฟ มาเป็นรายจ่ายตามจ่ายจริงได้นั้น ต้องเป็นค่าน้ำ - ค่าไฟ ของตัวอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้เท่านั้น

ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
http://www.rd.go.th/publish/7052.0.html

- แต่ถ้าเป็นการบริการอื่น ก็ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นหากมีรายได้ในส่วนของบริการก่อนหักรายจ่ายใน 1 ปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท กฏหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
http://www.rd.go.th/publish/7061.0.html

หากยังไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับ , ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ก็ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อครับ
bigkid
 
โพสต์: 42
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:07 am


ย้อนกลับไปยัง การวางแผนภาษี-บัญชี หอพัก

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron