การวางแผนภาษีของอพาร์ทเม้นท์
1.ทำสัญญาแยกค่าเช่าออกจากค่าบริการ รวมทั้งชี้แจงเจ้าหน้าที่หากห้องเช่าของท่านไม่มีคนพัก
เต็มตลอดเวลา โดยท่านสามารถแสดงหลักฐานสัญญาเช่าลงนามไว้ หรือ ทะเบียนผู้เช่าพัก
ท่านย่อมมีเหตุผล ที่จะโต้แย้งและเสียภาษีตามรายได้ที่ท่านได้รับจริงเท่านั้น และช่วยให้ฐานภาษี
โรงเรือนลดลงได้ (ปัจจุบันต้องเสียภาษีโรงเรือน 12.5 % ของค่าเช่าห้อง)
2.ถ้าค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าบริการ ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมเกินปีละ 1.8 ล้านบาท จะต้องเข้า VAT
3. บุคคลธรรมดาควรทำบัญชี โดยเก็บหลักฐานพิสูจน์ผู้รับผู้จ่ายสำหรับต้นทุนก่อสร้าง และ
ค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วนำมาหักค่าใช้จ่ายตามความ เป็นจริงได้ แต่้ถ้าท่ามีรายได้จากแหล่งอื่นด้วย
อาจทำให้เสียภาษีในอัตราสูง ควรเปรียบเทียบกับการจัดตั้งบริษัทว่าอย่างใดจะคุ้มกว่ากัน
4. จัดทำอพาร์ทเม้นท์ในชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน(หสม.)เพื่อกระจายรายได้ การเข้า
ร่วมจัดตั้ง หสม.ทำได้หลายวิธีเช่นเจ้าของที่ดินกับผู้ก่อสร้างเจ้าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างกับ
ผู้ทำการตลาด จัดหาผู้เช่า ดูแลตึก รักษาความปลอดภัย เรียกเก็บค่าเช่า จ่ายค่าจ้างคนงาน เป็นต้น
เมื่อเป็นดังนี้แล้วก็สามารถเก็บค่าเช่าในชื่อหสม. ได้โดยเสียภาษีจากอัตราต่ำสุด และไม่ต้อง
เอาค่าเช่าไปรวมกับรายได้อื่นของคุณ โดยต้องจัดทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อแบ่งแยกหน้าที่
การงานและกำหนดส่วนแบ่งกำไรให้ชัดเจนแล้วนำไปขอเลข ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ หสม.
เพื่อจะได้เริ่มเสียภาษีให้ถูกต้อง
5. การให้เช่าเหมาชั้น กรณีอาคารมีหลายชั้นและคุณก็ไม่ต้องการรับความเสี่ยงในการหาผู้เช่า
ให้ครบทุกห้อง หรือ ความเสี่ยงในการเก็บ เงิน คุณอาจให้เช่าเหมาชั้นแก่บุคคลทั่วไปโดยคิดค่าเช่า
เป็นรายปี
6. หากคุณมีลูกหลาน อาจจะกระจากรายได้ให้ลูกโดยจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน คุณในฐานะพ่อ
หรือ แม่ ย่อมมีสิทธิทำการแทนลูกอยู่แล้ว คุณจึงสามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้ลูกโดยคุณ
เป็นผู้ทำการแทน การจดทะเบียนสิทธิเก็บกินต้องทำที่กรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดิน
และอาคารตั้งอยู่ โดยต้องนำโฉนดไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังให้เรียบร้อยด้วยคุณอาจจะ
กำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 10 ปีเผื่อมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต(อาจให้สิทธิ์แก่ใครก็ได้
ไม่จำเป็นต้องเป็นลูก)เมื่อจดเรียบร้อยแล้วการทำสัญญาต่างๆก็ทำในนามคนนั้นเป็นผู้ให้เช่านะครับ